ความต้องการสวัสดิการของพนักงานของบริษัทโรบินสัน จำกัด (มหาชน) สาขาขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความต้องการ สวัสดิการ พนักงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการของพนักงานของบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) สาขาขอนแก่น ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานประจำของบริษัท จำนวน 79 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า พนักงานของบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) สาขาขอนแก่น มีความต้องการสวัสดิการในแต่ละด้านดังนี้ 1) สวัสดิการด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.85) 2) สวัสดิการด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.88) 3) สวัสดิการด้านการศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D. = 0.87) 4) สวัสดิการด้านความมั่นคง (ทางการเงิน) อยู่ในระดับมาก ( = 3.90, S.D. = 0.98) 5) สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับมาก ( = 3.79, S.D. = 1.12) 6) สวัสดิการด้านโบนัสและเงินสวัสดิการ อยู่ในระดับมาก ( = 3.62, S.D. = 1.17) 7) สวัสดิการด้านการบริการให้คำปรึกษา (ในการทำงานและปัญหาส่วนตัว) อยู่ในระดับมาก ( = 3.55, S.D. = 1.05) 8) สวัสดิการด้านนันทนาการ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.23, S.D. = 1.14) 9) สวัสดิการด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมาก ( = 3.87, S.D. = 0.96)
References
จิรพัฒน์ อ่อนเกตุพล. (2562). ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 4 (2): 74-91.
ชนิดา รัตนชล. (2562). ความต้องการสวัสดิการตามเจเนอเรชั่นของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปริญญามหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิมพ์ลิขิต ทองรอด. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา บริษัท อินเด็กซ์ครีเอทีฟวิลเลจ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1 (2): 63-102.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ(ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12 (2): 50-61.
สุจิตรา แนใหม่ และชญชา สุดเวหา. (2562). ความต้องการสวัสดิการของบุคลากรสายสนับสนุน
มหาวิทยาลัยเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14 (3): 255-261.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว