วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ ประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่าในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมืองตองยี)

Main Article Content

ภัทระ คมขำ

บทคัดย่อ

การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาดนตรีไทใหญ่ประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่า พื้นที่ภาคสนามคือเมืองตองยี เมืองหลวงของรัฐชาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องดนตรีที่นำมาประสมวง วิธีการบรรเลงและทำนองเพลง ผลการวิจัยไม่ปรากฏเครื่องเป่าในเมืองตองยี สำหรับเครื่องตีปรากฏในการบรรเลงที่เรียกว่า วงจ้าดไต ซึ่งมีปรากฏเพียงคณะเดียวได้แก่ คณะจ้าดไตบ้านหนองหมอน อำเภอสี่แสง จังหวัดตองยี  วงจ้าดไตบ้านหนองหมอนก่อตั้งโดยการรวมตัวของผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 36 ปี ปัจจุบันหัวหน้าวงคือครูจายคำแลง สมาชิกในคณะมีประมาณ  30 คน รับการแสดงในบุญ งานประเพณีต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ภายในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง การประสมวงประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลายชิ้นได้แก่  ปัตตะนา มองแวง มองแคง ตอยอฮอร์น เช่าลงปั๊ด จีฮอกแส่ง กลองซีโต วิธีการบรรเลงได้รับอิทธิพลจากพม่า เนื่องจากพื้นที่อยู่ค่อนมาทางใต้ของรัฐชานใกล้กับเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิมของพม่า คนในเมืองตองยีเน้นเรื่องการทำธุรกิจด้วยเป็นเมืองหลวง ทำให้ไม่เคร่งครัดลักษณะเฉพาะของทำนองไทใหญ่ และการอาศัยอยู่กันอย่างหลากหลายชาติพันธุ์ ส่งผลกับทำนองเพลงไทใหญ่ โดยปรากฏบทเพลงเป็นลักษณะทำนองพม่าแต่เนื้อร้องเป็นไทใหญ่ ทำนองเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะบ้านหนองหมอนคือเพลงหนองหมอนบ้านเฮา และเป็นบทเพลงที่นำมาบรรเลงเป็นเพลงโหมโรงของวง การรับงานบรรเลงดนตรีศิลปินไม่สามารถดำรงชีพได้ ศิลปินต้องประกอบอาชีพเกษตรกรรมควบคู่ไป เช่น การทำนา การปลูกข้าวโพด

Article Details

บท
ดุริยางคศิลป์

References

คำแลง. (2559, 13 มีนาคม). สัมภาษณ์.จังหวัดตองยี. 1994. เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี เมืองตองยี.ตองยี: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.
ตานทุน. (2559, 13 มีนาคม). สัมภาษณ์.
ส่างคำ จางยอด. (2559, 14 มีนาคม). สัมภาษณ์.อู่เมี่ยนอ่อง. 2016. วันชาติรัฐฉานครบรอบ 69 ปี. สำนักพิมพ์
เอราวัณ (อูเทวิน). ย่างกุ้ง: โรงพิมพ์เจ้าตั๊ดตา.