จินตนาการจากความลวง

Main Article Content

อภิชา มันทนวัทน์

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในแนวเหนือจริงประเภทสื่อผสม เพื่อถ่ายทอดความเชื่ออันเร้นลับเกี่ยวกับนักษัตรและเบญจธาตุ  ซึ่งเป็นความเชื่อหนึ่งของสังคมไทยที่ฝังลึกลงในจิตใจมีความยึดมั่นถือมั่นกันมาตลอดจากอดีตจนถึงปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้วิจัยเกิดเป็นแนวความคิดนำมาสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ทางด้านศิลปกรรม  ด้วยข้อมูลที่วิเคราะห์และสังเคราะห์จากศาสตร์ความเชื่ออันเร้นลับ  รวมถึงการสัมภาษณ์ศิลปินไทย  การวิเคราะห์ผลงานศิลปะของศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศที่สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในแนวเหนือจริง เพื่อนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาสังเคราะห์และทัศนะใหม่ของผู้วิจัย  นำมาทำการสร้างสรรค์เป็นผลงานชุดนักษัตรและเบญจธาตุ 


การดำเนินงานทดลองสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของเบญจธาตุและศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของนักษัตรทั้ง 12 นักษัตร และความสัมพันธ์ของนักษัตรกับเบญจธาตุ รวมถึงชัยภูมิภายนอกอาคารกับภายในอาคาร ตามหลักการของศาสตร์ฮวงจุ้ยนักษัตรและเบญจธาตุ โดยการแบ่งแยกนักษัตรออกเป็นกลุ่มในแต่ละธาตุ 5 กลุ่ม คือ  กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุดินได้แก่ ฉลู มะโรง มะแม จอ  ใช้สีเหลืองเป็นหลัก กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุทอง ได้แก่ วอก ระกา จอ ใช้สีทองและสีขาวเป็นหลัก     กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุน้ำได้แก่  กุน ชวด ฉลู ใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก  กลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุไม้ ได้แก่ ขาล  เถาะ มะโรง  ใช้สีเขียวเป็นหลัก   และกลุ่มนักษัตรและเบญจธาตุ ธาตุไฟ ได้แก่มะเส็ง มะเมีย มะแม ใช้สีแดง และสีส้มเป็นหลัก


เมื่อได้ผลงานทดลองสร้างสรรค์ ผลสรุปเป็นแนวคิดใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษาค้นคว้า จากนั้นผู้วิจัยจึงนำผลการศึกษาค้นคว้ามาสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานจริงในชุดผลงานจินตนาการจากความลวง ตามแนวคิดของผู้วิจัย       


สรุปจากผลการทดลองสร้างสรรค์พบว่า แนวคิดใหม่ที่ผู้วิจัยได้นำความเชื่อของผู้คนอันงมงาย  ซึ่งมีต่อนักษัตรและเบญจธาตุ  สามารถนำไปสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในแนวเหนือจริงโดยใช้เทคนิคสื่อผสมได้และเกิดเป็นความงามทางด้านทัศนศิลป์  เพื่อสื่อถึงความหมายต่างๆที่ซ่อนไว้ในผลงานให้ผู้คนต่างได้ตระหนักถึงความเชื่ออันงมงาย ควรอยู่กับความเป็นจริงให้มากไม่หลงเชื่อและไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์.(2555).ฮวงจุ้ยชะตาฟ้าคนลิขิต.กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์.
คลิปแมส.(2560).ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์.เข้าถึงได้จาก https://www.clipmass.com.
จารุวัฒน์ จันทะวงศ์.(2557).ศิลปะเซอร์เรียลลิสม์.เข้าถึงได้จาก https://worldcivil14.blogspot.com/2014/02/surrealism.html
ชลูด นิ่มเสมอ.(2539).องค์ประกอบของศิลปะ(พิมพ์ครั้งที่4).กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
ชัยยันต์2222.(2554).ศิลปะลัทธิเหนือจริง.เข้าถึงได้จาก https://chaiyan2222.wordpress.com/2011/09/21/
ซง เฉียวจือ.(2553).โหราศาสตร์จีน:12นักษัตรประยุกต์(พิมพ์ครั้งที่6).กรุงเทพฯ:เต๋าประยุกต์.
ซินแสหวาง.(_ _ _ _).ตำนาน12นักษัตร(ไทย จีน ญี่ปุ่น).เข้าถึงได้จาก https://www.sinsaehwang.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8.
ตะวัน เลขะพัฒน์.(2559).ฮวงจุ้ยนายแห่งโชคชะตา.เข้าถึงได้จาก https://www.modernfs.com./luck-11.html.
ตั้งกวงจือ.(2549).หัวใจฮวงจุ้ย.กรุงเทพฯ:จูปิตัส.
มาศ เคหาสน์ธรรม.(2553).ฮวงจุ้ยชั้นสูงเชิงวิทยาศาสตร์ เล่ม2.กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
วิรุณ ตั้งเจริญ.(2544).ทัศนศิลปวิจัย.กรุงเทพฯ:สันติศิริ.
เวชสวรรค์ หล้ากาศ.(2548).ฮวงจุ้ย:ศาสตร์และศิลป์ในมิติของซินแส สถาปนิก วิศวกร.กรุงเทพฯ:มติชน.
สวนศรี ศรีแพงพงษ์.(2534).สุนทรียะทางทัศนศิลป์.กรุงเทพฯ:โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
อารี สุทธิพันธุ์(2528).ศิลปนิยม.(พิมพ์ครั้งที่3).กรุงเทพฯ:กระดาษสา.