อัตลักษณ์ระบำนกยูงอาเซียน

Main Article Content

ธนสิทธิ์ ชมชิด

บทคัดย่อ

วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบการแสดงระบำนกยูงของประเทศในภูมิภาคอาเซียน และศึกษาอัตลักษณ์การแสดงนกยูงของประเทศในภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่                 บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งค้นพบได้ 6 ประเทศ จาก 10 ประเทศ ได้แก่กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ไทย และเวียดนาม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษา สังเกต และการวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของการแสดงระบำนกยูงอาเซียน จากการศึกษาค้นพบทั้ง 6 ประเทศโดยแบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ  ได้แก่ 1)องค์ประกอบด้านดนตรี เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องประเภทตี มีการดำเนินทำนอง และใช้จังหวะที่รวดเร็ว  2)องค์ประกอบด้านผู้แสดง ส่วนใหญ่ผู้แสดงจะเน้นเฉพาะตัวนกยูงที่ไม่ระบุเพศ ไม่มีตัวประกอบในลักษณะอื่น 3) ด้านเครื่องแต่งกาย แต่งกายเลียนแบบนกยูงแบบไม่สมจริง เน้นสีเขียว 4) ด้านอุปกรณ์ ไม่นิยมใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง  และ 5) ด้านท่ารำ เน้นท่านกเป็นสำคัญ ประกอบท่าเดิน ท่าบิน ท่าจิก และท่าเกี้ยวพาราสี


            จากกการวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงลึกของงานวิจัยชิ้นนี้  สะท้อนให้เห็นว่า ระบำนกยูงอาเซียนนั้น เป็นศิลปวัฒนธรรมร่วมระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงการได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมใกล้เคียง โดยแบ่งออกเป็นภาคพื้นดิน และหมู่เกาะ อย่างประเทศเมียนมา กัมพูชา ไทย ก็จะมีความคล้ายคลึงในด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ส่วนประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อย่างประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย  ก็จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรม  ประเพณี วิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ในส่วนของการแสดงระบำนกยูงเวียดนาม ได้รับอิทธิพลจากจีนเนื่องจากมีพื้นที่ติดกับ  ประเทศจีน  ซึ่งการแสดงระบำนกยูงที่ศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาท และรูปแบบของนกยูงที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่แสดงแบบง่าย เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไปจนถึงการแสดงที่เน้นความงามมีแบบแผน

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

ธิญาดา ยอดแก้ว .(2547).การศึกษาสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตร์มหาบัณฑิตภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน.(2558). นิทรรศการ “ต่างคล้าย ใช่เลย ในการแสดงฟื้นบ้านอาเซียน ครั้งที่ 1”.หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ชั้น 3 ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันที่ 17-18 ตุลาคม พ.ศ.2558.
ศิขรา ศิริสาร.(2556).วารสารวิทยบริการ กระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์และการสร้างอัตลักษณ์ร่วมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก : ศึกษากรณีแฟนเพจอิปคิงดอม.ปีที่24 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม-กันยายน 2556
สุรพล วิรุฬห์รักษ์.(2543).นาฏยปริทรรศน์.พิมพ์ครั้งที่ 1 ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขานาฏยศิล์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.(มปป).“ เรียนรู้เพื่อนบ้าน”ประชาคมอาเซียน.กรุงเทพฯ : ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน
LunRathna.(2558).สัมภาษณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. 17 มกราคม 2558.
RosintaTotoatmoJo.(2558).สัมภาษณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. 17 มกราคม 2558.