การออกแบบลวดลายผ้าบาติกจากพันธุ์ไม้ในวรรณคดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบลักษณะของภาพวาดสีน้ำพันธ์ไม้ในวรรณคดีในวังสวนสุนันทา นำมาจำแนกรูปทรง สีสัน ที่ใช้เป็นแบบสำหรับวาดภาพสีน้ำ และศึกษารูปแบบการออกแบบลวดลายผ้าบาติกสำหรับการนำมาใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายผ้าบาติกจากพันธ์ไม้ในวรรณคดี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ศึกษาภาพวาดสีน้ำพันธ์ไม้ในวรรณคดีในวังสวนสุนันทา และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารหนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะภาพวาดสีน้ำพันธ์ไม้ในวรรณคดีในวังสวนสุนันทาเป็ฯภาพวาดที่ถ่ายทอดรูปทรงและสีสันของพันธ์ไม้ในวรรณคดีแบบเสมือนจริง และลวดลายสร้างสรรค์การออกแบบลวดลายผ้าบาติกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพันธ์ไม้ในวรรณคดี ลักษณะส่วนใหญ่มีการใช้ลวดลายจากธรรมชาติมากที่สุด และมีการนำรูปทรงเรขาคณิตมาเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงลวดลายต่อกันอย่างสวยงาม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
แน่งน้อย ติตริรานนท์. (2523). สวนสุนันทาในอดีต. กรุงเทพฯ : พิศิษฐ์การพิมพ์
นวภรณ์ ศรีสราญกุลวงศ์. (2555). การออกแบลวดลายดอกไม้ในวังสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราภัฏวนสุนันทา
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2545). ภาพเขียนสีน้ำคุณข้าหลวงในสมเด็จพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราช ปดิวรัดา. กรุงเทพฯ : พิศิษฐ์การพิมพ์