นาฏยลักษณ์ฟ้อนสาวไหม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์ฟ้อนสาวไหม โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการรับการถ่ายทอดกระบวนท่าฟ้อนสาวไหมจากแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ และฟ้อนสาวไหมของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
ผลการวิจัย พบว่า นาฏยลักษณ์ของฟ้อนสาวไหม มี 3 ลักษณะ คือ 1. นาฏยลักษณ์ด้านกระบวนท่าฟ้อนสาวไหม มีกระบวนท่าฟ้อนที่เป็นลักษณะเฉพาะของกระบวนท่าฟ้อนสาวไหม ได้แก่ การวนมือเป็นวงกลม การสาวจีบโค้งม้วนปล่อยมือ การพุ่งมือ การสอดมือแบตั้งใต้ศอก ลักษณะท่าฟ้อนสาวไหมในกระบวนท่าฟ้อนสาวไหม แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1. ท่าแบบนาฏศิลป์ไทย 2. ท่าฟ้อนเอกลักษณ์ภาคเหนือ 3. ท่าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการเลียนแบบการสาวไหม ลักษณะการเคลื่อนไหวท่าฟ้อน มีการใช้มือในการฟ้อนมากที่สุด ลีลาการฟ้อนไม่เน้นการใช้จังหวะเข่าใช้การเคลื่อนตัวและเท้าด้วยกิริยาที่นุ่มนวล เชื่องช้า และต่อเนื่องตามท่วงทำนองเพลง กระบวนท่าฟ้อนที่แสดงให้เห็นถึงนาฏยลักษณ์ของฟ้อนสาวไหมที่ปรากฏพบ จำนวน 4 ท่า คือ 1. ท่านั่งไหว้ 2. ท่าบิดบัวบาน 3. ท่าม้วนไหมซ้าย - ขวา 4. ท่าพุ่งหลอดไหมหรือพุ่งกระสวยและกระบวนท่าฟ้อนที่มีความสอดคล้องกับกรรมวิธีการสาวไหม นับได้ 19 ท่าใน 5 ขั้นตอนของกรรมวิธีการสาวไหม 2. นาฏยลักษณ์ด้านเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ นุ่งซิ่นแบบลายขวางมีเชิงหรือไม่มีลวดลาย 3. นาฏยลักษณ์ด้านดนตรี ได้แก่ วงดนตรีพื้นเมือง เครื่องดนตรีในการบรรเลงต่างกัน ท่วงทำนองเพลง บรรเลงในอัตราจังหวะ 2 ชั้น ฟ้อนสาวไหมทั้งสองรูปแบบมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ลีลาการฟ้อนสาวไหม ที่มีนุ่มนวลอ่อนช้อย เชื่องช้า มีการยืดยุบตัวลงตามธรรมดาไม่กระทบเข่าแลนุ่มเนิบ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์ในการฟ้อนเป็นการฟ้อนที่สะท้อนให้เป็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของหญิงสาวชาวเหนือในการทอผ้า
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.
รุจน์จรุง มีเหล็ก. (2548). ฟ้อนสาวไหม : กรณีศึกษาครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ และ ครูคำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิงหา ช้างขวัญยืน. (2558). นาฏยลักษณ์รำมอญเจ็ดริ้ว ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา ศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เหมือนขวัญ ดีสมจิตร. (2555). ฟ้อนตะคัน. วิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. โครงการวิจัยทางการศึกษา สื่อนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ทาง
ศิลปวัฒนธรรม