ประติมากรรม: รูปทรงจากความศรัทธาในพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาความศรัทธาที่เกิดจากความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการศึกษาจากสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปทรง ส่วนประกอบ งานสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมที่แสดงออกถึงในเรื่องของความศรัทธาในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม โดยใช้วิธีการเน้นการตัดทอนรูปทรง ประกอบกับจินตนาการของผู้วิจัย ให้แสดงออกถึงเรื่องราวความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ผลการศึกษาวิทยานิพนธ์พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมชุด “ความศรัทธาในพุทธศาสนา” แบ่งรูปทรงเป็น 2 ส่วน คือ รูปทรงภายนอกและ รูปทรงภายใน รูปทรงภายนอกผู้วิจัยได้จำแนกรูปทรง ส่วนประกอบในงานสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม มาเป็นใช้ในการตัดทอนรูปทรง ทำให้รูปทรงภายนอกแสดงถึงความศรัทธาในพุทธศาสนา รูปทรงภายในผู้วิจัยได้นำของกลีบบัวที่มีลักษณะซ้อนกันเข้าไปด้านใน และรูปทรงกลมซ้อนกันขั้นไปที่แสดงถึงหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา ที่แฝงอยู่กับรูปทรงหลักภายนอก ซึ่งสอดคล้องกับคติการสร้างสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรม ที่แฝงไปด้วยหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา เพื่อให้ผลงานประติมากรรมแสดงถึงความศรัทธาในพุทธศาสนามากที่สุด ซึ่งผลงานประติมากรรมชุด “รูปทรงจากความศรัทธาในพุทธศาสนา” ทั้งหมด 4 ผลงานคือ
ชิ้นที่ 1 ผลงานชื่อ “รูปทรงจากความศรัทธาในพุทธศาสนา 1 (สี่เหล่า)”
ชิ้นที่ 2 ผลงานชื่อ “รูปทรงจากความศรัทธาในพุทธศาสนา 2 (อริยมรรค)”
ชิ้นที่ 3 ผลงานชื่อ “รูปทรงจากความศรัทธาในพุทธศาสนา 3 (ไตรสิขา)”
ชิ้นที่ 4 ผลงานชื่อ “รูปทรงจากความศรัทธาในพุทธศาสนา 4 (ฆราวาสธรรม)”
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
ชวพงศ์ ชานิประศาสน์. (ม.ป.ป.). ความหมายของ "พระพุทธรูป" และ "พระพุทธเจ้า" ตามความเป็นจริงคัดลอกจากพระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย. ข่าวสด, เข้าถึงได้จาก https://board.postjung.com/956651.html
ชวพงศ์ ชานิประศาสน์. (2559). คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย : ปางมารวิชัยหรือปางพิชิตมาร. ข่าวสด, ปี(ฉบับ), (ม.ป.น.). เข้าถึงได้จาก
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_129863
ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี. (ม.ป.ป.). (บทวิเคราะห์เรื่องพุทธปรัชญา) สถาปัตยกรรมทาง พระพุทธศาสนา. เข้าถึงได้จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension- 3/analysis_of_the_buddhist_philosophy/35.html
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ; ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 5. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2505.
ปัญยวัฒน์ วัชรการ. (2555). สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับชีวิตคนไทย. เข้าถึงได้จาก https://punyawat63.blogspot.com/2012/12/blog-post.html
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พ.ศ. 2546 (พิมพ์ครั้งที่ 12).
พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ เจิม. (2553). นนทบุรี: ศรีปัญญา.พัสตราภรณ์ แก่นพรม. (2551). การศึกษารูปแบบพระปรางค์และสถาปัตยกรรมที่มียอดปางในสมัย รัชกาลที่ 4-6 พุทธศักราช
ราชบัณฑิตยสถาน. (2536). จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน, เข้าถึงได้จาก https://www.royin.go.th/?knowledges=ศรัทธา
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2551). พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย กรุงเทพ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สงวน รอดบุญ. (2529). ศิลปกรรมไทย กรุงเทพฯ: การศาสนา.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2537). วัด : พุทธสถาปัตยกรรมไทย กรุงเทพ: ธรรมศาสตร์.
สมคิด จิระทัศ. (2544). วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/w/index.php?title= ปรางค์&action=edit§ion=5
สมชาย ฐานวุฑโฒ (พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ). (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก https://www.dmc.tv/pages/ข้อคิดรอบตัว/ศิลปะกับศาสนา-ข้อคิดรอบตัว.html
สันติ เล็กสุขุม. (2552, วันที่ เดือน). เจดีย์ ความเป็นมาและคาศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ใน ประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). มติชน
สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมสาหรับเยาวชน.
หม่อมสุภัทรดิศ ดิศกุล. (2539). ศิลปะในประเทศไทย กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมร สังข์นาค. (2553). วิถีธรรมวิถีไทยวิทยาลัยเทคนิคนครนายก หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.