ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทประพันธ์เทิดพระเกียรติ หลวิชัย คาวี เป็นบทประพันธ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากเค้าโครงละครนอกเรื่อง หลวิชัย คาวี บทกวีนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กษัตริย์กวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นำเสนอในรูปแบบของละครเพลงซึ่งใช้อารมณ์และความรู้สึกของตัวละครรวมถึงบรรยากาศของฉากแต่ละฉากในการกำหนดกรอบและแนวทางในการประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี
เนื้อเรื่องประกอบด้วยความรักหลากหลายรูปแบบ เช่น พี่กับน้อง ชายกับหญิง สัตว์กับสัตว์ รวมถึงความขัดแย้ง ของตัวละครต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บทเพลงมีความหลากหลายทางอารมณ์ ตัวละครหลักในบทประพันธ์นี้จะมีทำนองหลักเป็นของตนเองเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์และช่วยให้ผู้ฟังสามารถติดตามเรื่องราวและการนำเสนอของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำนองหลักแต่ละทำนองจะถูกพัฒนาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การขยายส่วนจังหวะ การย่อส่วนจังหวะ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ต่างๆ
บทประพันธ์นี้ประกอบด้วยบทเพลงบรรเลงและบทเพลงร้องรวมทั้งสิ้น 14 บทเพลง ความยาวประมาณ 50 นาที ผู้วิจัยมีความตั้งใจที่จะนำเสนอนิทานพื้นบ้านของไทยเรื่องนี้โดยใช้ดนตรีตะวันตกซึ่งเปรียบดั่งภาษาสากลเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราวให้กับผู้ฟังทุกชนชาติและเพื่อส่งเสริมวรรณคดีของไทยในรูปแบบมิวสิคัลภาษาอังกฤษให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2553). อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดยณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพมาส แววหงส์. (บรรณาธิการ). (2558). ปริทัศน์ศิลปการละคร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันต์ สุวทันพรกูล และภัทรเศรษฐ์ แพงแสน. (2552) วรรณคดีไทยสมัยอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พีบีซี.