ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: “นาก” ไทยเมโลดราม่า

Main Article Content

แข เมตติชวลิต

บทคัดย่อ

บทประพันธ์ดุษฎีนิพนธ์ “นาก” ไทยเมโลดราม่าเป็นบทประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์ประเภทเมโลดราม่าของนักประพันธ์อาร์โนลด์ เชินแบร์ก ผสมผสานกับเรื่องเล่าเก่าแก่เกี่ยวกับภูติผีปีศาจของไทย บทบรรยายในเรื่องนำมาจากวรรณกรรมร้อยกรองเรื่องแม่นาคพระโขนง ฉบับตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2474 โดยผู้เขียนใช้นามปากกาว่า ประภาศรี ซึ่งคัดลอกบทร้อยกรองนี้มาจากต้นฉบับเดิมที่เป็นตัวรงสมุดไทยพบที่วัดร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ 


              บทประพันธ์ดุษฎีนิพนธ์ “นาก” ไทยเมโลดราม่า เป็นบทประพันธ์เมโลดราม่าเรื่องแรกที่ใช้ภาษาไทยในการบรรยายบอกเล่าเนื้อเรื่อง ผสมผสานกับดนตรีในสำเนียงไทยและตะวันตก บทประพันธ์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 องก์ ได้แก่    องก์ที่ 1) บทบรรเลงนำ เป็นการบรรยายนำเรื่องกล่าวถึงตำนานภูติผีปีศาจ องก์ที่ 2) พราก เป็นการบรรยายชีวิตในช่วงแรกของสองสามีภรรยานางนากและนายมากจนถึงนายมากต้องเข้าเกณฑ์ทหารยังวังหลวง องก์ที่ 3) หลอน เป็นช่วงที่นางนากเสียชีวิตโดยการคลอดบุตร จนถึงกลายมาเป็นภูติผี และองก์ที่ 4) นาก เป็นการสรุปบทเพลงโดยการนำศพของนางนากไปฝังยังต้นตะเคียน และจุดธูปขอขมา 

Article Details

บท
ดุริยางคศิลป์

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2553). อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอนก นาวิกมูล. (2543). เปิดตำนานแม่นากพระโขนง. กรุงเทพมหานคร: ศิลปะสนองการพิมพ์.
Abbate, C. (1991). Unsung Voice. Princeton University Press.
Bryn-Julson, P. and Mathews, P. (2009). Inside Pierrot Lunaire. The Scarecrow, INC.