รูปแบบเครื่องแต่งกายละครพูดรัชกาลที่ 6

Main Article Content

อภิรักษ์ สารภี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเครื่องแต่งกายละครพูดรัชกาลที่ 6 และศึกษาปรากฏการณ์เครื่องแต่งกายละครพูดรัชกาลที่ 6 กำหนดระยะเวลาของการศึกษาเครื่องแต่งกายละครพูดรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่เสด็จศึกษาต่อต่างประเทศจนถึงสวรรคต ระหว่างปี พ.ศ.2436-2468 รวมทั้งสิ้น 33 ปี ผู้วิจัยได้คัดเลือกละครพูดที่ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงกำกับการแสดงและทรงแสดงร่วมกับพระสหาย จำนวนทั้งสิ้น 14 เรื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพถ่ายฟิล์มกระจก ตำรา เอกสารและภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ


            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเครื่องแต่งกายละครพูดรัชกาลที่ 6 สามารถแบ่งรูปแบบเครื่องแต่งกายของตัวละครผู้ชายและตัวละครผู้หญิงออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบเครื่องแต่งกายตะวันตก รูปแบบเครื่องแต่งกายไทยและรูปแบบเครื่องแต่งกายผสม ในลักษณะรูปแบบเครื่องแต่งกายยังสามารถแบ่งช่วงปรากฏการณ์เครื่องแต่งกายออกเป็น 5 ยุคสมัย ได้แก่ช่วงที่ 1 ปรากฏการณ์การศึกษาในต่างประเทศ ตัวละครผู้ชายนิยมสวมใส่ชุดทักซิโด้ ตัวละครผู้หญิงแต่งกายลักษณะสมเด็จพระราชชินี ช่วงที่ 2 ปรากฏการณ์ความสำคัญด้านงานละคร ตัวละครผู้ชายยังนิยมสวมใส่ชุดทักซิโด้ ชุดสูทและเครื่องแบบทหารตะวันตก ช่วงที่ 3 ปรากฏการณ์ฟื้นฟูการศึกษาและศาสตร์ศิลป์ เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับสยามและลาผนวช ตัวละครผู้ชายนิยมสวมใส่เสื้อราชแพทเทิร์นหรือเสื้อราชประแตนนุ่งโจงกระเบน ตัวละครผู้หญิงสวมเสื้อรูปแบบคล้ายกับเสื้อสตรียุคสมัยเอ็ดเวอร์เดียน ด้านล่างนุ่งโจงกระเบน ช่วงที่ 4 ปรากฏการณ์เชิดชูกองทัพทหารไทย ตัวละครผู้ชายนิยมแต่งเครื่องแต่งกายแบบทหารไทย เช่น ทหารเสือป่า ทหารเรือ ตัวละครผู้หญิงนิยมเสื้อตัวหลวมนุ่งโจงกระเบน ช่วงที่ 5  ปรากฏการณ์เครื่องแต่งกายสู่ความเป็นอารยะ ตัวละครผู้ชายนิยมสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบทหารของสยาม ตัวละครผู้หญิงเริ่มเปลี่ยนจากการนุ่งโจงกระเบนมาสวมใส่ผ้าซิ่น ปรากฏการณ์เครื่องแต่งกายละครพูดรัชกาลที่ 6 มีปัจจัยที่ทำให้เครื่องแต่งกายถูกเปลี่ยนแปลงและเห็นช่วงการพัฒนาทั้งสภาพสังคม การเมือง ประเทศและสงครามโลก

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

ปิ่น มาลากุล. (2521). หนังสืองานละครของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :ไทยวัฒนาพานิช.
ลุพธ์ อุตมะ. (2559). วารสาร ฉัฐรัช พัสตราภรณ์. ปีที่พิมพ์ 2559 (ฉบับที่ 1), เลขหน้า 6-10.
ศิริวัฒน์ ขำเกิด. (2557). ละครสวนสุนันทาสมัยคุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย), มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สมศักดิ์ บัวรอด. (2547). การแสดงและการสร้างละครไทย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา