การศึกษาลวดลายและกระบวนการทอผ้าด้วยกี่โบราณนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

Main Article Content

KETHATHAI SINGIN

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายผ้าทอและกระบวนการทอผ้าด้วยกี่โบราณนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาการทอผ้าด้วยกี่โบราณบ้านนาหมื่นศรี ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาช่างทอที่สามารถเก็บลายได้มีจำนวนน้อยมากและมีแนวโน้มลดลงให้คงอยู่และพัฒนาต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยสามารถศึกษากระบวนการทอผ้าและลายผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี  บรรจุตัวเลขยกและข่มในการเก็บตะกอลายผ้าและลำดับการยกตะกอ พบว่าระบบโครงสร้างลายที่ใช้สีต่างกันส่งผลสำคัญต่อความเข้าใจและการสื่อสารของช่างทอ ทำให้ช่างทอเข้าใจโครงสร้าง การต่อเนื่องของลวดลายและลำดับการยกตะกอ ช่วยลดระยะเวลาในกระบวนการเก็บลายได้ถูกต้องรวดเร็วมากขึ้น ผลจากการวิจัยนี้สามารถจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าทอกี่โบราณบ้านนาหมื่นศรีและข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์ที่  http://www.tutextile.com/na  เผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง ผู้ที่สนใจและช่างทอเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกทุกเวลาด้วย QR code สามารถเลือกที่จะเปิดภาพหรือดาวน์โหลดไฟล์ PDF การเก็บตะกอลายผ้าและลำดับการยกตะกอในการทอ ปรับย่อหรือขยายให้เหมาะสมตามระดับสายตาของช่างทอแต่ละคน สามารถเรียนรู้พัฒนาทักษะการเก็บลาย เก็บตะกอและทอผ้าได้ด้วยตนเอง ฐานข้อมูลลายผ้าทอกี่โบราณยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยสร้างสรรค์พัฒนาผ้าทอนาหมื่นศรีต่อไปได้ในอนาคต

Article Details

บท
การออกแบบ

References

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2557). แผนกลยุทธ์คณะศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ
โครงการศึกษาภูมิปัญญาและรวบรวมลายผ้าไหมพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ (มปป). สืบค้น 1 เมษายน 2561, จาก http://surin.rmuti.ac.th/pgcp/pdf/2559%20(12).pdf
ทัศวรรณ ธิมาคำ, รัตนา ณ ลำพูน, และทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2553, พฤษภาคม–สิงหาคม). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเรื่อง การทอผ้ายกลำพูน. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 28(2), 17-28. สืบค้น 1 เมษายน 2561, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/jiskku/ article /view/ 6348
นิ่มนวล จันทรุญ, (2557). การศึกษาโครงสร้างผ้าทอภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารฉบับพิเศษ ประชุมวิชาการ, 10(0), 422-429. สืบค้น 1 เมษายน 2561, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?page=show_journal_no&no_id=36
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2530). ผ้าไทยพัฒนาการทางอุตสาหกรรมและสังคม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด
สุนทรี สังข์อยุทธ์. (2548). ทอรักถักสายใย ผ่านลายผ้านาหมื่นศรี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สายฝน จิตนุพงศ์. (2558, เมษายน-กันยายน). ผ้ายกกับวิถีชีวิตคนใต้. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 14(2), 157-171. สืบค้น 1 เมษายน 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95563/74646
อุบลศรี อรรถพันธุ์. (2529). การทอผ้าไหมพุมเรียง. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา
อัมพร ศรประสิทธิ์, วรรณา ประยุกต์วงศ์. (2545). แบบแผนการผลิต-จำหน่ายผ้าทอพื้นบ้านและศักยภาพของช่างทอผ้า
ภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศษสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(3), 288-306. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2557,
จาก http://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewissue.php?id=24
อารอบ เรืองสังข์และคณะ. (2546). รายงานวิจัยโครงการแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาลายผ้านาหมื่นศรี. กรุงเทพ : สำนักกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว)