การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ร่วมสมัย จากคติแฝงในวรรณกรรมเรื่อง "ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่"

Main Article Content

ศุภกานต์ จรรยานุกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาคติแฝงและเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน                                                การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยชิ้นใหม่ที่มาจากคติแฝงในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่และนำเอาคติแฝงจากวรรณกรรมมาทำการสร้างสรรค์เป็นการแสดงทางด้านนาฏศิลป์ในรูปแบบร่วมสมัยที่มีชื่อว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว” 


ผลการวิจัยพบว่า จากการเล่าต่อๆ กันมาของวรรณกรรมเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารคติแฝงที่ว่า การกระทำโดยขาดสติยั้งคิดถึงแม้ว่าจะสำนึกได้ในภายหลังก็ไม่สามารถกลับไปแก้ไขอตีตได้ และเพื่อถ่ายทอดคติแฝงดังกล่าวผ่านการแสดง ผู้วิจัยจึงแบ่งกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1.ขั้นเตรียมการแสดง ผู้วิจัยทำการดัดแปลง ปรับเปลี่ยนโครงเรื่อง และทำการเรียงลำดับโครงเรื่องขึ้นใหม่ให้มีความเข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบัน  แต่อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายสำคัญที่บทวรรณกรรมต้องการสื่อสารก็ยังต้องคงอยู่ ในการคัดเลือกนักแสดงผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการทรายเอาท์ (Try-out) เพื่อให้ได้นักแสดงที่เหมาะสมตามบทการแสดงมากที่สุด ในส่วนของการออกแบบลีลา ผู้วิจัยเริ่มต้นหาทิศทางการเคลื่อนไหวจากการด้นสดของนักแสดง โดยผู้วิจัยเป็นผู้กำหนดโจทย์ต่างๆ ให้กับนักแสดงและทำให้การเคลื่อนไหวมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นโดยใช้เทคนิคลาบาน ในส่วนของการออกแบบดนตรีประกอบการแสดงและเครื่องแต่งกายนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมลีลาท่าเต้นเป็นสำคัญ 2. ขั้นการแสดง จัดแสดงขึ้น ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในวันพฤหัสบดีวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 13.00 น. 3. ขั้นหลังการแสดง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ร่วมสมัย 5 ท่านให้ข้อวิพากษ์หลังจากรับชมการแสดง การวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจทำการดัดแปลงวรรณกรรมพื้นบ้านสู่การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยเพื่อผู้ชมในยุคปัจจุบันได้

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

ชุมพล ชะนะมา. (2544). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิโลบน วงศ์ภัทรนนท์. (2555). การสร้างสรรค์ละครเพลงเพื่อเยาวชนจากวรรณกรรมเรื่อง “ลูกเป็ดขี้เหร่”
ของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน กับหลักพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภคพร หอมนาน. (2558). นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยโพสโมเดอร์ดานซ์ (Post-Modern Dance) ชุด อ้างว้าง โดยนราพงษ์ จรัสศรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2556). นิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2560, จาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-literature/252-folk/456--m-s.
รักษ์สินี อัครศวะเมฆ. (2557). นาฏยศิลป์สร้างสรรค์สำหรับการแข่งขันยิมนาสติกลีลาในระดับนานาชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุขสันติ แวงวรรณ. (2555). นาฏาศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ภาวะโลกร้อน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cake Chansa. (2553). นาฏศิลป์ร่วมสมัย. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2560, จาก http://darmacmru.blogspot.com
/2010/08/blog-post.html.
Dance Me Up. (2557). Contemporary Dance (นาฏศิลป์ร่วมสมัย). สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2560, จาก https://www.facebook.com/dancemwup/photos/pcb.10151909861167029/10151909858282029.
Minton, S.C.. (1997). Choreography : A Basic Approach Using Improvisation. USA: Human Kinetics.