วิวัฒนาการและคุณูปการของโขนสมัครเล่นในกรุงรัตนโกสินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและคุณูปการของโขนสมัครเล่นในกรุงรัตนโกสินทร์ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ รวมทั้งจากประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยเน้นช่วงยุครัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 – 2561) ผลการศึกษาพบว่า การแสดงโขนนั้นมีลักษณะของสมัครเล่นมาตั้งแต่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับโขน เนื่องจากเป็นการแสดงในพระราชพิธี ผู้แสดงจึงไม่ใช่นักแสดงอาชีพ ล้วนเป็นทหาร มหาดเล็ก และข้าราชบริพาร โดยสันนิษฐานว่ามีกรมโขนจัดการแสดง ตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบเนื่องจนรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ที่รับผิดชอบในการฝึกหัดและจัดแสดง มีศิลปินอาชีพอยู่ในกรมนี้แต่ไม่มาก เมื่อต้องจัดการแสดงใหญ่ยังเป็นลักษณะสมัครเล่นอยู่ เป็นลักษณะนี้เรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองและทำระบบการศึกษาให้เป็นมาตรฐาน จึงก่อตั้งสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตนักแสดงโขนอาชีพและครูโขนอาชีพขึ้นซึ่งปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฏศิลป และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมบนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดการแสดงโขนจนเกิดเป็นพระราชนิยม ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงนิยมฝึกหัดและจัดการแสดงโขนขององค์กรตัวเองขึ้นเพื่อเชิดชูรัชกาลที่ 9 แต่ละองค์กรมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน จากการสำรวจที่ดำเนินการอยู่มีโขนมหาวิทยาลัย 7 แห่ง มุ่งเน้นสร้างผู้ชมโขน โขนโรงเรียน 12 แห่ง มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน และ โขนเอกชน 7 แห่ง มุ่งเน้นเฉพาะทางต่างกันไป ทั้งหมดเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร คุณูปการที่ได้คือเกิดรูปแบบขององค์กรทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยแกนหลัก ผู้เรียน ผู้สนับสนุน ผู้สอน และผู้บริหาร โดยมีแกนกลางเป็นโขน ซึ่งน่าจะมีการพัฒนาและคงอยู่ต่อไปในอนาคต
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กรมศิลปากร. (2521). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
กรินทร์ กรินทสุทธิ์. (2558). ปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนาการ และความหลากหลายของโขน (ทศวรรษที่ 2480 ถึงปัจจุบัน). (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2559). พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 และอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ.2003. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2560, จาก https://book.culture.go.th/newbook/ich/ich2559.pdf
คณะกรรมการอำนวยการโขนรามคำแหง. (2549). รายงานผลการดำเนินงาน “โขนมหาวิทยาลัยรามคำแหง” (ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549) เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่.
งานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร. (2535). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ชูชีพ ขุนอาจ. (2561, 20 กรกฎาคม). ผู้ก่อตั้งโขนครูชูชีพ ขุนอาจ. [บทสัมภาษณ์.]
ชูศักดิ์ รังสิต. (2561, 2 มีนาคม). ผู้ก่อตั้งคณะโขนการบินไทย. [บทสัมภาษณ์.]
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2557). โขน : ศิลปะประจำชาติไทยและสื่อวัฒนธรรมในบริบทสังคมร่วมสมัย. ปริญญานิพนธ์ศิลปะ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวรวงศ์เธอกรมพระยา. (2508). ตำนานละครอิเหนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: คลังวิทยา.
ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, หม่อม. (2556). จงทำให้ได้ดั่งฝัน. กรุงเทพฯ: แปลน ฟอร์ คิดส์.
ตำนานสวนกุหลาบ. (2538). กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
ตรีรัตน์ เรียมรักษ์ (2561, 25 กรกฎาคม). หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิคึกฤทธิ์80. [บทสัมภาษณ์.]
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 – 4. (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
ทัศไนย แผ้วสกุล (2561, 17 ตุลาคม). ครูขวัญศิษย์ปี 2560 และ ครูโขนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2516-2553. [บทสัมภาษณ์.]
ธนิต อยู่โพธิ์. (2539). โขน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
ธรรมรัตน์ โถวสกุล. (2559). ศิลปะอุตสาหกรรมและนวัตกรรมการสร้างหัวโขน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ปรียนันท์ อึ้งประเสริฐ และ วชิรวิทย์ ภิญโญ. (2547). โขนรามคำแหง รามปริทรรศน์, 11.
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ. (2552). โครงการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม. สืบค้น 11 ตุลาคม 2561, จาก http://kingrama2found.or.th/โครงการสืบทอดศิลปวัฒนธ/
ลาลูแบร์ และ ซิมอง เดอร์. (2457). จดหมายเหตุพงศาวดาร สยามครั้งกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า (กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, ผู้แปล.). พระนคร: ปรีดาลัย.
วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ (2561, 15 พฤษภาคม). ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย โขนลิง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. [บทสัมภาษณ์.]
วรชาติ มีชูบท. (2553). เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ: สร้างสรรบุ๊คส์.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2537). การวิเคราะห์แนวพระราชดำริและบทบาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวในการส่งเสริมทางด้านนาฏศิลป์และดนตรี : กรณีศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ครุศาสตร์ (สารัตถศึกษา) , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
สมชาย พูลพิพัฒน์ (2561, 9 สิงหาคม). อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. [บทสัมภาษณ์.]
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2504). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระยะที่ 1 (2504 - 2506). พระนครฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน. In. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สุทธิวุฒิ จิราวัฒวานิต (2561, 28 มิถุนายน). ผู้ก่อตั้งบ้านศิลป์สยาม. [บทสัมภาษณ์.]
สมบัติ ภู่กาญจน์ (2561, 29 พฤษภาคม). ศิลปินคึกฤทธิ์ ประจำปี 2558 และอดีตสมาชิกโขนธรรมศษสตร์. [บทสัมภาษณ์.]
สมโภชน์ ฉายะเกษตริน. (2551). โขนกิตติมศักดิ์. ใน โขนเด็ก. ไตรรัตน์ พิฒโภคผล (บรรณาธิการ), กรุงเทพฯ: บริษัท เลคแอนด์ฟาวเท่น พริ้นติ้ง จำกัด.
สมวุฒิ กุลพุทธสาร (2561, 6 สิงหาคม). ครูโรงเรียนบ้านสะบารัง. [บทสัมภาษณ์.]
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2548). โขนจุฬาฯ. จามจุรี : สื่อเชื่อมสายใย น้ำใจน้องพี่, ปีที่ 7(ฉบับที่ 1 มีนาคม - มิถุนายน).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2549). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หมวดวิชาศิลปศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2528). วิพิธทัศนา สาธิตจุฬาฯ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
อัญชลา โภชนสมบูรณ์. (2534). สำนักนาฏศิลป์เอกชนกับการถ่ายทอดศิลปะการรำ. ใน เบิกโรง: ข้อพิจารณานาฏกรรมในสังคมไทย. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ), กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา.
อมรา กล่ำเจริญ, สวภา เวชสุรักษ์, นพรัตน์ หวังในธรรม, กัญญา ทองมั่น, ไพฑูรย์ เข้มแข็ง, ทองล้วน บุญยิ่ง, . . . ธิดารัตน์ ภูมิวัฒนะ. (2559). โขน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
Kraus Richard, Sarah Chapman Hisendager, & Brenda Dixon. (1969). History of the Dance in Art and Education. In. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Mary Elizabeth Berry. (1982). Hideyoshi. Harvard East Asian Series 97. In. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Michael Dobson. (2011). Shakespeare and Amateur Performance : A Cultural History. In. Cambridge University Press: New York.