วิธีการแสดงบทบาทนางคันธมาลีในการแสดงละครนอก เรื่อง คาวี

Main Article Content

วิภาวี อาขวานนท์

บทคัดย่อ

วิธีการแสดงบทบาทนางคันธมาลีในการแสดงละครนอกเรื่องคาวี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแสดงบทบาทนางคันธมาลีในการแสดงละครนอกเรื่องคาวี ตอนนางคันธมาลีขึ้นเฝ้า ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการแสดงบทบาทนางคันธมาลี เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า ผู้แสดงเป็นนางคันธมาลีจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการรำและจะต้องมีความสามารถในด้านของการแสดงควบคู่กัน วิธีการแสดงบทบาทนางคันธมาลีประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1.กระบวนท่ารำได้แก่ การแสดงกระบวนท่ารำทั้งการรำตีบทเดี่ยวและการรำตีบทคู่ โดยใช้วิธีการแสดงท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ไทยและท่าทางธรรมชาติ         2. วิธีการใช้พื้นที่โดยมีวิธีการใช้พื้นที่ครบทั้ง 9 ส่วนของเวที เคลื่อนที่ไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ตามกระบวนท่ารำและปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวนางคันธมาลีกับตัวละครอื่น 3. วิธีการเจรจา ประกอบด้วยบทเจรจาทั้งแบบร้อยแก้วและร้อยกรอง วิธีการเจรจาจะมีการเน้นน้ำหนักเสียงตามคำที่ตัวละครต้องการสื่อสารอารมณ์เป็นพิเศษและมีจังหวะการพูดที่ค่อนข้างเร็ว 4. วิธีการแสดงอารมณ์ ประกอบด้วย 5 อารมณ์ คือพึงพอใจ,เสียใจ,โกรธ,รักและวิตกกังวล ซึ่งจะแสดงออกผ่านแววตา สีหน้า การขยับปากและการเคลื่อนไหวร่างกายบนพื้นฐานของอารมณ์มนุษย์จริง 5. วิธีการเข้าถึงตัวละครนางคันธมาลี ประกอบด้วยการอ่านวิเคราะห์บทละคร, การตีความบทละคร,การสร้างความเชื่อ, การฝึกซ้อมการแสดง ผลการวิจัยยังสะท้อนให้เห็นถึงความย้อนแย้งของสถานภาพตัวละครและการแสดงบทบาทของตัวละครในงานนาฏศิลป์ไทย กล่าวคือนางคันธมาลีเป็นตัวนางกษัตริย์แต่มีวิธีการแสดงบทบาทอย่างนางตลาด โดยใช้เทคนิคการแสดงนอกสู่ในตามด้วยเทคนิคในสู่นอก การแสดงบทบาทนางคันธมาลีจะสำเร็จได้จะต้องประกอบด้วยการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างบทละครดี ผู้กำกับเก่งและนักแสดงมีความสามารถจึงจะทำให้การแสดงบทบาทนางคันธมาลีในละครนอกเรื่องคาวี ประสบความสำเร็จและเป็นที่ประทับใจผู้ชมการแสดง

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

เฉลิม เศวตนันท์. (2515). ตำนานการละคร. จากคำบรรยายเรื่อง “การละคร”. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.
ชมพูนุช กุลฐิติกิจ. (2539). การศึกษาความเป็นมาและวิวัฒนาการของละครนอก. ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2465). บทละครนอก พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
นริศรานุวัติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2509). ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์. กรุงเทพฯ: อักษร สาส์น.
พสุมนต์ แสนชัยวงศ์. (2554). คันธมาลีแต่งตัว. ศิลปนิพนธ์ศิลปบัณฑิต นาฏศิลป์ไทย, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2501). บทละครนอก. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
________ . (2513). บทละครนอกรวม 6 เรื่อง. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
มัทนี โมชดารา รัตนิน. (2543). ศิลปะการแสดงละคอน (Acting) หลักเบื้องต้น และการฝึกซ้อม. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ลักษณา โตวิวัฒน์. (2524). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เรื่อง คาวี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณี อุดมผล. (2527). วรรณกรรมการแสดงของไทย. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
แสง มนวิทูร. (2541). นาฏยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. กรมศิลปากร.
อาคม สายาคม. (2545). รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.