รำมอญพระเพลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

จิราภรณ์ วัฒนศิลป์ศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์รูปแบบการแสดง  องค์ประกอบการแสดงและศึกษาปัจจัยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเผยแพร่รำมอญพระเพลิง อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารงานวิชาการ              การสัมภาษณ์  สังเกตการณ์และการฝึกปฏิบัติเพื่อรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางวัฒนธรรม นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์  ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการรำมอญ                  พระเพลิง  อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีรูปแบบการแสดง 2 รูปแบบ  คือ 1.รูปแบบการรำมอญในพิธีกรรม 2.รูปแบบการรำมอญในงานรื่นเริง องค์ประกอบของการแสดงรำมอญมี 5 ประการ ประกอบด้วย 1)นักแสดงและนักดนตรี 2)การแต่งกาย มี 2 รูปแบบ คือ 2.1นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนโยงและมีสไบพาดที่ไหล่ซ้าย 2.2 ผู้ชาย        สวมเสื้อผ้ามันแขนสั้น นุ่งโจงกระเบน มีผ้ามัดเอวและคาดศีรษะ ผู้หญิงห่มผ้าตะเบงมานและนุ่งโจงกระเบน รวบผมเก็บที่ท้ายทอยไม่สวมเครื่องประดับ 3)เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง โทน ปี่มอญ ฉิ่ง ฉาบและกรับ  4)โอกาสที่ใช้ในการแสดง 4.1งานไหว้ขอพรและขอขมาหลวงปู่ฉิมหรือผีบรรพบุรุษของครอบครัวที่มีสมาชิกชาวมอญ          4.2เทศกาลประจำปี เช่น งานลอยกระทง งานผ้าไหมเมืองปัก งานฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี 5)สถานที่ที่ใช้ในการแสดงมี 2 ลักษณะ คือ บริเวณหน้าลานประกอบพิธีกรรมและบนเวทียกสูงในงานเทศกาลต่าง ๆ ปัจจัยที่มีการอนุรักษ์  เผยแพร่และส่งเสริมรำมอญพระเพลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา คือ 1.ปัจจัยด้านศิลปินต้นแบบ  2.ปัจจัยด้านคนในชุมชน 3.ปัจจัยด้านสถานศึกษาในชุมชน 4.ปัจจัยด้านนโยบายรัฐ

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

กรมศิลปากร. (2542) วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด
นครราชสีมา. : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี (2539), วัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ ในที่ระลึกงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 27 ชลบุรี:
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทรงคุณ จันทจร. (2556) คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อ
เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พงษ์ศิริ ศิลปบรรเลง. (2540) เพลงรำมอญของเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี : ปริญญา
นิพนธ์ สาขามนุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.