รูปแบบและเทคนิคการทำผมของตัวละครรำในสมัยรัชกาลที่ 9

Main Article Content

นายรุ่งทิวา วารีบ่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทรงผม องค์ประกอบ และเทคนิคการทำผมของตัวละครเชื้อชาติในละครรำสมัยรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 – 2559 โดยผู้วิจัยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์      


            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบทรงผมของตัวละครเชื้อชาติในละครรำสมัยรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 – 2559  ที่พบมีรูปแบบทรงผมทั้งหมด 12 รูปแบบ  ที่นำไปใช้กับทรงผมตัวละครทั้งสิ้น 5 เชื้อชาติ  ได้แก่  ตัวละครเชื้อชาติไทย, พม่า, มอญ, ลาว และฝรั่ง โดยแบ่งเป็น 1) รูปแบบทรงผมตัวละครรำเชื้อชาติที่แต่งแบบยืนเครื่องมี 3 รูปแบบ ได้แก่  (1) ผมทรงรวบเก็บกลางกระหม่อม (2) ผมทรงแหวกม่านตั้งรัดเกล้า (รัดเกล้ายอด, รัดเกล้าเปลว) (3) ผมทรงรวบเก็บท้ายทอย 2) รูปแบบทรงผมตัวละครรำเชื้อชาติที่แต่งแบบไม่ยืนเครื่องมี 9 รูปแบบ  ได้แก่ (1) ผมทรงมหาดไทยยาว (2) ผมทรงมหาดไทยสั้น (3) ผมทรงดอกกระทุ่มยาว (4) ผมทรงดอกกระทุ่มสั้น (5) ผมทรงรวบเก็บท้ายทอย  (6) ผมทรงเกล้าขึ้นปล่อยชายข้าง (7) ผมทรงเกล้าขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (เกล้าทุย) (8) ผมทรงฟาร่าห์ และ (9) ผมทรงพวงองุ่น


         องค์ประกอบของทรงผมสามารถแบ่งออกได้เป็น ทรงผมตัวละครรำเชื้อชาติที่แต่งแบบยืนเครื่อง ประกอบด้วย           1) เทริดนางหรือมงกุฎกินรี, รัดเกล้ายอด, รัดเกล้าเปลว, กระบังหน้า และผมปลอม 2) ทรงผมตัวละครรำเชื้อชาติที่แต่งแบบไม่ยืนเครื่อง ประกอบด้วย ดอกไม้ประดิษฐ์, อุบะลาว, เกี้ยวซีก, ผมปลอม, ปิ่น, ปักผม, มงกุฎแบบฝรั่ง และหมวก เทคนิคทำการทำผมให้ตัวเองจะจำกัดทรงที่ทำและใช้อุปกรณ์มากกว่าเทคนิคการทำผมให้กับผู้อื่น

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

กิตติพัฒน์ แดนที่. (2558). “ระบำสุโขทัย”, ระบำโบราณคดี. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://patdramaa111.srp.ac.th/raba-borankhdi. [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558]
เจนนิสา เกศมณี. (2556). “การฟ้อนเล็บ”, การแสดงพื้นเมืองสี่ภาค. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://jenniasketmanee.blogspot.com/ [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558]
ชวลิต สุนทรานนท์ และคณะ. 2549. ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน. กรุงเทพฯ: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง
จำกัด.
. 2550. ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.
. 2550. การศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน – ละครรำ. กรุงเทพฯ:
กรมศิลปากร.
. 2551. ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.
ฉวีวรรณ ขจรประศาสตร์. ม.ป.ป. “การแต่งกายไทยสมัยไทยมุง”, พัสตราภรณ์ไทย ถวายไท้ราชินี. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://www.thaitopwedding.com/Misc/dress_history-1.html [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558]
เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. ม.ป.ป. “ประวัติการละคร”, ละครไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/dramaticarttuppschool/lakhr-thiy [สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2558]
ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารและตำรา. สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.
นฤมล รัตนพงศ์เลขา. (2558). ถ้านำละคร “รัตนโกสินทร์” มาสร้างใหม่อีก. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://www.dek-d.com/board/view/3606707/ [สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2559]
บุญวงศ์ วงศ์วิรัตน์. (2551). คลังเครื่องแต่งกายโขนละคร : กรณีศึกษาบ้านเครื่องคุณรัตน์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
บุญศิริ นิยมทัศน์. (2541). การแต่งหน้าและการแต่งผมนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.
ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2545). วิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย.
กรุงเทพฯ: สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร.
มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2546). สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ลักษณ์ สงขลา : ภารกิจ เอกสาร และตำรา, มหาวิทยาลัย
ทักษิณ.
มาลัย นิลพงษ์ และพิมพ์วดี กลั่นพจน์. (2546). “วิวัฒนาการเครื่องแต่งกายละครไทย,” มนุษย์ฯ สาร. 43 – 48.
วิมลศรี อุปรมัย. (2555). นาฏกรรมและการละคร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีณา วีสเพ็ญ. (2549). วรรณคดีการละคร. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2548). รูปแบบการแสดงเบิกโรงละครรำในยุครัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 9). วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – 2477. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2549). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัษฎา จรัลชล. (2552). “นาฏศิลป์ไทย ๑ ว่าด้วย การรำคู่”, รักษ์นาฏศิลป์ไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://oknation.nationtv.tv/blog/assada999/2009/11/23/entry-1 [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2557]
. (2552). “นาฏศิลป์ไทย ๑ ว่าด้วย การำหมู่”, รักษ์นาฏศิลป์ไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://oknation.nationtv.tv/blog/assada999/2009/11/23/entry-2 [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2557]
. (2552). “นาฏศิลป์ไทย ๑ ว่าด้วย การรำเดี่ยว”, รักษ์นาฏศิลป์ไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://oknation.nationtv.tv/blog/assada999/2009/11/22/entry-3 [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2557]
. (2552). “นาฏศิลป์ไทย ๑ ว่าด้วย นาฏศิลป์ภาคอีสาน”, รักษ์นาฏศิลป์ไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://oknation.nationtv.tv/blog/assada999/2009/11/25/entry-2 [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2557]