การแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น คณะประถมบันเทิงศิลป์

Main Article Content

jakrawut Jongthep

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาประวัติความเป็นมาของหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่นคณะประถมบันเทิงศิลป์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2560 2.ศึกษารูปแบบ วิธีการแสดง ขั้นตอน และเทคนิคพิเศษที่ใช้ในการแสดงในปัจจุบัน (มกราคม - พฤษภาคม พ.ศ.2560)  เรื่องกาแกมหงส์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ ศึกษาจากเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และ การศึกษาจากวีดิทัศน์ 


ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะประถมบันเทิงศิลป์ มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 60 ปี แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อร่างสร้างตัว  ระยะรับช่วงต่อ และ ระยะเติบโต รุ่งเรืองด้วยเทคโนโลยี 2) รูปแบบการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนแบ่งออกได้ 3 ช่วง  คือ 1. ช่วงคอนเสิร์ตเพลงลูกทุ่ง ที่มีการประยุกต์เอาศิลปะการแสดงร่วมสมัย และ การแสดงพื้นบ้าน เข้ามาประกอบในช่วงนี้ 2. ช่วงตลก จะเป็นการแสดงคั่นรายการเพื่อสร้างสีสัน บรรยากาศ และ 3. ช่วงลำเรื่องต่อกลอน ซึ่งจะใช้เวลาในการแสดงตลอดทั้งคืน เพื่อนำเสนอหมอลำเรื่องต่อกลอนเรื่องเดียว คือ กาเกมหงส์ 3) เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการแสดงแบ่งได้ 2 ด้าน คือ 1. ด้านเวที โดยการเอาจอ LED ไฟ แสง สี เสียงต่างๆ ที่ครบครันมาสร้างความตื่นตาตื่นใจ และ 2. ด้านอุปกรณ์ประกอบการแสดง ซึ่งจะมีการใช้สลิงค์ และ อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น รถตุ๊กๆ รถจักรยานยนต์ เพื่อสร้างความสมจริง และ ตื่นตากับโชว์การแสดง


จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า คณะ “ประถมบันเทิงศิลป์” ซึ่งนำโดยนายสันติ สิมเสน นั้นประสบความสำเร็จได้ด้วยปัจจัยหลัก 2 ประการคือ 1) นายสันติ สิมเสน มีความเป็นหมอลำโดยสายเลือดที่เข้าใจธรรมชาติความเป็นหมอลำอย่างลึกซึ้ง และ 2) นายสันติ สิมเสน มีวิสัยทัศน์ที่ดี เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนารูปแบบการแสดงให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้ชมเสมอมา จึงทำให้การแสดงของ คณะ “ประถมบันเทิงศิลป์” ครองใจผู้ชมมาได้จนปัจจุบัน

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

กรมศิลปากร. (2520). การละเล่นพื้นบ้านอีสาน(หมอลำ-หมอแคน). กรุงเทพฯ :
กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). เมื่อสื่อส่องและสร้างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาลาแดง.
_________. (2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ :
ศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กีรกิติ สิมเสน (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 23 ตุลาคม 2559
คำพล กองแก้ว. ลำและหมอลำ. อีสานศึกษา. ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (เมษายน 2560) : 88 – 98.
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2528). มรดกอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2528). บทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ.
มหาสารคาม :
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
_________. (2523). การเล่นพื้นบ้านเมืองของเด็กอีสาน. กรุงเทพฯ : อรุณาการพิมพ์.
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). หมอลำ-หมอแคน. มหาสารคาม : ภาควิชาดุริยางคศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
_________. (2526). ดนตรีพื้นบ้าน. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ชัยมงคล ไตรวิภาค (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 25 เมษายน 2560
ณิชนันทน์ อินทรสอน (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 25 ตุลาคม 2559.
เธียรชัย อิศรเดช. (2549). สื่อพื้นบ้านขานรับงานสุขภาพ. นนทบุรี :
โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข.
นำใจ อุทรักษ์. (2553). การศึกษาและแนวทางการพัฒนาหมอลำเรื่องต่อกลอน
ในภาค อีสาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญกว้าง วาทโยธา. (2524). เทคนิคการบรรเลงพิณของศิลปินพื้นบ้านอีสาน.
วารสารความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ปีที่ 11(23), 58 – 69.
บุญจันทร์ จอมศรีประเสริฐ. (2554). การดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนรู้
ภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย. (2555). อัตลักษณ์ของหมอลำกลอนทำนองขอนแก่น.
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 12, 2560, จาก www.http://culture.neu.ac.th.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2555). 10 อันดับคณะหมอลำยอดเยียมแห่งปี 2012. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 30, 2560, www.Prachachat.net
ประเทือง คล้ายสุบรรณ์. (2528). ร้อยกรองชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : สุดธิสารการพิมพ์.
ปรารถนา จันทรพันธุ์. (2548). สื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข. กรุงเทพฯ : โครงการสื่อพื้นบ้านเพื่อ
การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน.
พรเทพ วีระพล. (2535). การแสดงหางเครื่องหมอลำหมู่. ศศ.ม ไทยคดีศึกษา,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
พิชากร บำรุงวงค์. (2559). การสร้างสรรค์แสงเพื่อการสื่อสารในบริบทของงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(1), 173-189.
ไพบูลย์ แพงเงิน. (2534). กลอนลำภูมิปัญญาของอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
โอเดียนสโตร์.
มุณี พันเทวี. (2537). หมอลำหมู่. ในหนังสือที่ระลึกงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยครั้งที่ 17.
มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
เยาวภา ดำเนตร (2536) วิถีชีวิตของชาวอีสานจากกลอนลำทางยาวของลำกลอน. ศศ.ม ไทยคดีศึกษา.
ราตรี ศรีวิไล. (2545). เล่าเรื่องหมอลำ1. ความหมายหน้าที่คุณค่าจรรยาบรรณและ
การเปลี่ยนแปลง. วารสารเพลงดนตรี. 8,3 : 20 – 24.
_________.(2544). สุทรียภาพในกลอนลำของหมอลำ. องค์ประกอบปัจจัยเกื้อหนุนใน
การสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรืองชัย นากลาง (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 11 กรกฎาคม 2560
วนิดา สิมเสน (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 23 ตุลาคม 2559.
วีระ สุดสังข์. (2526). หมอลำศิลปกรรมอีสาน, ในครูไทย. 28. 66 – 69. เมษายน 2560.
วุฒิศักดิ์ กะตะศิลา. (2541). บทบาทของหมอลำราตรี ศรีวิไล.
วิทยานิพนธ์ ศศ.ม ไทยคดีศึกษา.
มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ศราวุธ ศรีเวียง (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 25 มกราคม 2560
ศรีปาน รัตติกาลชลากร. (2538). บทบาทของสื่อพื้นบ้านในวัฒนธรรมมอญใน
อำเภอพระประแดง. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาประชาสัมพันธ์ บัณฑิต
วิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราภรณ์ ปทุมวัน. (2542). บทบาทหมอลำฉวีวรรณดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ
สาขาการแสดงพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมควร กวียะ. (2529). สภาพสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย
ประเภทสื่อบุคคลสื่อประเพณี. วารสารนิเทศศาสตร์, ปีที่ 26(4), 17 – 42.
สมคิด ทินภู (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 12 มกราคม 2560
สว่าง เลิศฤทธิ์. (2527, พฤศจิกายน 27). หมอลำวัฒนธรรมพื้นบ้านที่กำลังกลายรูป.
มติชน, หน้า11.
สุกิจ พลประถม. (2536). การเป่าแคนพื้นบ้านอีสาน. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. ไทยคดีศึกษา,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2543). เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเพทฯ : มติชน.
สุวิทย์ รัตนปัญญา. (2553). หมอลำกลอน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์
การพัฒนาภูมิภาคจังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สันติ แสนสิน (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 23 ตุลาคม 2559.
สุรพล เนสุสินธุ์. (2550). พัฒนาการการแสดงหมอลําเรื่องต่อกลอน ทํานองขอนแก่น
คณะระเบียบวาทะศิลป์ จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ฉวีวรรณ พันธุ(ผู้ให้สัมภาษณ์). จักราวุฒิ จงเทพ (ผู้สัมภาษณ์). 23 ธันวาคม 2560
ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2536 สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)
อุดม บัวศรี. (2540). พิมพ์กวีศรีอีสาน. ขอนแก่น : สำนักส่งเสริมวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น