การศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายผ้าทออ่างศิลา บ้านบึกกับวิถีชีวิตชุมชนอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ตฤณ กิตติการอำพล

บทคัดย่อ

การวิจัย การศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายผ้าทออ่างศิลา บ้านบึกกับวิถีชีวิตชุมชนอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ผลงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกระเบียบวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้ วิธีการสัมภาษณ์วิธีประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า และสังเกตวิธีการทำงาน บันทึกภาพถ่าย จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ที่อยู่ภายในขอบเขตการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผ้าทออ่างศิลา บ้านปึกในแง่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายผ้าทออ่างศิลา บ้านปึก 3) เพื่อการอนุรักษ์ลวดลาย ผ้าทออ่างศิลา บ้านปึก 4) เพื่อรวบรวมบันทึกลวดลาย เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการออกแบบลวดลายสำหรับนิสิต และผู้สนใจทั่วไป


            ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาที่มีความสำคัญของชุมชนอ่างศิลา คือ “ผ้าทออ่างศิลา” และ “ครกหินอ่างศิลา” แต่ในงานครั้งผู้วิจัย ทำการศึกษา ค้นคว้าเฉพาะ ผ้าทออ่างศิลา มีความสำคัญตั้งแต่รัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเวลานานกว่า 160 ปี มาแล้วที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่เริ่มมีความชัดเจนจนกลายเป็นผ้าทรงกษัตริย์ที่มาจากอ่างศิลา และจันทบุรี ซึ่งมีหลักฐานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จนถึงปัจจุบัน ที่มีกระบวนการที่โดนเด่นของการทอผ้าอ่างศิลา คือการนำเส้นขยำกับข้าวสุกทำเส้นด้ายมีความนุ่ม เส้นเล็ก มีความเหนียวของเส้นด้าย และมีลวดลายที่พบที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกความเป็นอ่างศิลา คือ ลายสมุก ลายพิกุลครึ่งซีก ลายนกกระทา ลายไส้ปลาไหล และลายหางกระรอก


            ผ้าทอต่างๆในอ่างศิลา มีการพัฒนาให้มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มมูลค่าจนนำรายได้เข้าสู่ชุมชน มีการบริการวิชาการทางด้านการทอผ้าอ่างศิลาให้แก่ ผู้ที่มีสนใจการให้บริการวิชาการงานผ้าทออ่างศิลานั้น ผู้วิจัยพบว่ามีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ และการพัฒนาทางด้านการออกแบบ เพราะเกิดการแลกเปลี่ยน ที่เกิดจากการเข้ามาของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการทอผ้า การออกแบบ การเยี่ยมชม การลงพื้นที่ ของอาจารย์ นิสิต นักเรียน ประชาชนผู้ที่สนใจ ต่อการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า เพื่อไม่ให้ผ้าทออ่างศิลา ภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวอ่างศิลาไม่ให้สูญหาย ตลอดจนการนำลวดลายกระบวนการที่เป็นเอกลักษณ์ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างภาคภูมิใจ โดยไม่ทิ้งความเป็นอัตลักษณ์ได้อย่างมีคุณค่า และความงามได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

กนกพร ฉิมพล. (2555) รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กรมศิลปากร. (2532) ศิลปะและหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ
กระทรวงพาณิชย์.กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2553). สินค้าหนึ่งจังหวัด หนึ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มายด์
กิตติคุณวัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์: กรุงเทพมหานคร
เกษม อินทโชติ.(แผ่นพับ).ชมรมผ้าทอมือบ้านปึก(อนุรักษ์ผ้าทออ่างหิน).ชลบุรี:กำนันเกษม อินทโชติ
จารุวรรณ รัตนโภคา. (2551) การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้หลักสูตรฐานสมรรถนะวิชาชีพ หัตถกรรมโดยภูมิปัญญาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชัยนต์ วรรธนะภูติ. (2540) แนวคิดเรื่องกล่มอุปถัมภ์ของ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ :นักมานุษยวิทยา ที่ ข้าพเจ้ารู้จักคนธรรมดา: รวมบทความและข้อเขียนในวาระครบรอบอายุ 60 ปี ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยเชิงพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นิคม ชมพูหลง. (2548) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียน.อภิชาตการพิมพ์: มหาสารคาม
ภารดี มหาขันธ์ และนันท์ชญา มหาขันธ์. (2558) ประวัติศาสตร์สังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นอ่างศิลา. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดองศาสบายดี
วรารัตน์ วัฒนโนบล และคณะ. (2558). การจัดการความรู้การทอผ้าพื้นบ้านของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532) พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ
. (2539) ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2553) ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น. ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2560,เข้าถึงได้จาก http://tkagri.doae.go.th/temp.php?gpg=title01.
กลุ่มยุววิจัยผ้าไหมสันกำแพง. (2555) การเลี้ยงไหม สืบค้นวันที่ 6 ธันวาคม2560, เข้าถึงได้จาก http://sankamphangsilk.org/index.php/a4
จังหวัดชลบุรี. (2560) รู้จักชลบุรี สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.chonburi.go.th/website/main/web_index
เวปเพื่อเกษตรไทย. (2560) ฝ้าย ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกฝ้าย สืบค้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560,เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com/%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
Nammorn design. (2560) การเตรียมเส้นด้าย สืบค้น 30 พ.ย. 2560, เข้าถึงได้จาก http://nammorndesign.com/?page_id=136