STUDY OF BLACK TAI CULTURAL IDEN การศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมกลุ่มไทยทรงดำจังหวัดนครปฐม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย

Main Article Content

สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมกลุ่มไทยทรงดำ 2) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบเครื่องแต่งกายจากอัตลักษณ์ไทยทรงดำ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภค  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มผู้ผลิตผ้าไทยทรงดำจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความพึงพอใจ จำนวน 33 คน โดยแยกเป็น กลุ่มผู้ผลิตผ้าไทยทรงดำจำนวน 3 คน และกลุ่มสตรีในวัยทำงานอายุ 30-40 ปี จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกลุ่มไทยทรงดำ สามารถแบ่งได้เป็นที่อยู่อาศัย ภาษา เครื่องแต่งกาย อาหาร ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม การวิเคราะห์       อัตลักษณ์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกายสามารถนำสีและลวดลายของ พันธุ์พฤกษา สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ สิ่งของ และลายเบ็ดเตล็ด ซึ่งจาการวิเคราะห์ผู้วิจัยได้เลือกลวดลายดอกมะลิที่เป็นลวดลายหนึ่งที่มีอัตลักษณ์ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในเครื่องแต่งกาย เพราะเป็นลายที่สื่อความหมายในทางที่ดี มีความสวยงาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการใช้ลายดอกมะลิและเป็นลายที่ชาวบ้านนิยมทำกัน เพราะสวยงามและสามารถทำได้ไม่ยาก เครื่องแต่งกายจากอัตลักษณ์ไทยทรงดำ ได้ผ่านการประเมินรูปแบบผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกาย และนำรูปแบบเครื่องแต่งกายไปประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 33 คนได้ผลสรุปความพึงพอใจโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือมีค่าเฉลี่ย  (  gif.latex?\bar{x}= 4.13) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 1.05)

Article Details

บท
การออกแบบ

References

จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2554). แนวคิดหลังสมัยใหม่ : การย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
ปีที่ : 13 ฉบับที่ : 25 หน้า : 20-23.
จารุนันท์ เชาวน์ดี. (2539). การออกแบบเบื้องต้น. เชียงใหม่ : ภาควิชามนุษยสัมพันธ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุรีวรรณ จันพลา. (2554). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์.
กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
นวลจิตต์ เรืองศรีใส. (2545). สีและการใช้สีการออกแบบลายผ้า. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
นำพวัลย์ กิจรักษ์กุล. (2532). การศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ประชากร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของลาวโซ่ง ในจังหวัด
นครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพีระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เฟื่องฟูรัตน์ ทุ่งทวีสินสุข. (2545). การสร้างแบบเสื้อผ้าอุตสาหกรรมระบบเยอรมัน-สตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วาสนา อรุณกิจ. (2529). พิธีกรรมและโครงสร้างของลาวโซ่ง. วิทยานิพนธ์สังคม วิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและ
มานุษย์วิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัย.
สุมิตร ปิติพัฒน์ และคณะ. (2521). ลาวโซ่ง : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.