การออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลายขณะทำงาน

Main Article Content

Manewan srimahun

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลายขณะทำงาน ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลายขณะทำงาน พัฒนางานออกแบบอุปกรณ์เสริมที่ใช้สำหรับเก้าอี้ให้มีการใช้งานที่เหมาะสม เกิดความผ่อนคลายขณะทำงาน เพื่อทดสอบความพึงพอใจในการใช้งานของอุปกรณ์เสริมที่ใช้สำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลายขณะทำงานเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการนำเศษยางพาราที่เหลือจากการขึ้นรูป ซึ่งพบมากในอุตสาหกรรมการ ผลิตหมอนและที่นอนยางพารา คือการนำเศษยางพาราที่เหลือจากการขึ้นรูปมาผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูปอีกครั้ง จนได้เศษยางพาราอัดก้อนออกมา ถือเป็นการนำเอาเศษวัสดุที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุ


จากการศึกษาทดลองจากเศษยางพาราที่เหลือจากการขึ้นรูป พบว่าสามารถนาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ รวมกับการสำรวจความพึงพอใจในแนวทางการออกแบบ พร้อมข้อเสนอแนะจากกลุ่มคนที่มีความรู้ความถนัดทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ศิลปะ และความถนัดทางด้านการนวดกดจุดเพื่อการผ่อนคลาย นำมาสู่การออกแบบและพัฒนาทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จนได้มาซึ่งอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้จากยางพาราเพื่อการผ่อนคลายขณะทำงาน อีกทั้งด้วยรูปทรงแปลกตา และมีความยืดหยุ่น ในการใช้งานขณะทำงาน แนวคิดในการออกแบบ เป็นลักษณะรังผึ้ง คือออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ที่มีลักษณะคล้ายกับรังผึ้งแต่ออกแบบให้ดูทันสมัย โดยการตัดทอน ในขณะเดียวกัน สามารถใช้งานได้สะดวกสบายและรองรับกับสรีระร่างกายได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
การออกแบบ

References

ทีราทรน์ ธีรกุลชัยกิจ. (2557). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับพักผ่อนกลางแจ้งจากผ้าย้อมคราม. (วิทยานิพนธ์เทคโนโลยี มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะมัณฑนศิลป์, สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์.

ธนัท ศรีเพ็ชร์พันธุ์. (2557). การออกแบบผลิตภัณฑ์อ่างอาบน้ำเคลื่อนที่เพื่อความผ่อนคลายโดยมีภาพลักษณ์งานจักรสานไทย. (วิทยานิพนธ์เทคโนโลยีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะมัณฑนศิลป์, สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์.

ประภาพร กองทองดี.(2556). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ. (วิทยานิพนธ์เทคโนโลยี มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะมัณฑนศิลป์, สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์.

มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง (19 ธันวาคม 2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบของงานออกแบบผลิตภัณฑ์. สืบค้นจาก http://netra.lpru.ac.th/~weta/ch-2/index.html

สำนักงานเกษตรอุตสาหกรรม.(15 ธันวาคม 2561). อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ของไทย. สืบค้นจาก http://www.thaifta.com/trade/study/imtgt_chap5-1.pdf

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (16 ธันวาคม 2561). ความหมายของการยศาสตร์.เล่มที่32 เรื่องที่7. สืบค้นจาก

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=7&page=t32-7-infodetail01.html

Alex Clem. (23 ธันวาคม 2561). 101 ชุดสีผสมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบของคุณ.สืบค้นจาก

https://www.shutterstock.com/th/blog/101-free-color-combinations-design-inspiration/

frontierchai. (15 ธันวาคม 2558). ความหมายของ Economic Chair. Retrieved from http://frontierchair.com/detailClubForum.do?clubId=22632&clubForumMenuId=52993&clubForumId=41930

RUEDEE. (16 ธันวาคม 2561). เส้นใยแปนเด็กซ์ Spandex. สืบค้นจาก https://www.ruedee.com/th/fabric/spandex/