ความสำคัญและบทบาทของกลองในวงบัวลอย งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

Main Article Content

ภาคภูมิ ภาคภูมิ พนเสาวภาคย์

บทคัดย่อ

                  การศึกษาเรื่องความสำคัญและบทบาทของกลองในวงบัวลอยงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญและบทบาทของกลอง รูปแบบและขั้นตอนวิธีการตีกลองในวงบัวลอยงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช บรมนาถบพิตรโดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้บรรเลงวงบัวลอย งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ผลการวิจัยพบว่าวงบัวลอยใช้กลองมลายูตีจังหวะหน้าทับควบคู่กับทำนองเพลงของปี่ชวา เสียงของกลองมลายูสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจกลองมีบทบาทเป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์รูปแบบและขั้นตอนวิธีการตีกลองในวงบัวลอยมี 3 รูปแบบ 1.บรรเลงขณะขบวนพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศ 3 รอบใช้เฉพาะรัวกลองสามลา (รัวกลองสามครั้ง) 2.บรรเลงถวายพระเพลิงหลอก และ3.บรรเลงถวายพระเพลิงจริง  หน้าทับของกลองมลายูชุดบัวลอยประกอบด้วย รัวกลองสามลา (รัวกลองสามครั้ง) หน้าทับบัวลอย หน้าทับนางหน่าย รัวกลอง หน้าทับไฟชุม หน้าทับสองไม้ชั้นเดียว รัวกลอง และหน้าทับนางหงส์

Article Details

บท
ดุริยางคศิลป์

References

เจนจิรา เบญจพงศ์. (2555). ดนตรีอุษาคเนย์. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งแรก: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ชนิตร ภู่กาญจน์.(2549)แก่นแท้ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991

ไชยวุธ โกศล. (2545). ดนตรีประโคมศพ : กรณีศึกษาเพลงบัวลอย.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.บัฒฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยศ สันตสมบัติ.( 2548). มนุษย์กับวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร.

ศิลปากร, กรม. (2559).คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทสุวรรณภูมิ เฮอริเทจ จำกัด.

สนธยา พลศรี (2545). เครือข่ายของการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สหวัฒน์ ปลื้มปรีชา (2560) .เครื่องหนัง : หน้าทับที่ใช้กับเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่มีนเซอร์วิชซัพพลาย.

อานันท์ นาคคง. (2539). คีตกรรมหลังความตาย. หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2539 ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539.

. (2550) ดนตรีไทยเดิม. กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์สารคดี บริษัทวิริยะธุรกิจจำกัด