การจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กประเภทหนังสือนิทานภาพ เรียนรู้ผลเสียจากการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กประเภทหนังสือนิทานภาพเรียนรู้ผลเสียจากการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดทำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กเพื่อการเรียนรู้ถึงผลเสียจากการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป 2) เพื่อเผยแพร่สื่อการเรียนรู้นี้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ต่อไป 3) เพื่อศึกษาผลจากการใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสือนิทานชุดนี้ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และทำให้เด็กตลอดจนผู้ปกครองได้เรียนรู้และตระหนักถึงผลเสียจากการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มเด็ก ตลอดจนผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 50 คน 2) กลุ่มครูและบุคลากรในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่พัฒนาเด็กที่มีเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปตีความแบบตารางวิเคราะห์ และหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กประเภทหนังสือนิทานภาพ
ผลการวิจัย พบว่า ได้หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กเพื่อการเรียนรู้ถึงผลเสียจากการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป โดยการสร้างสรรค์ภาพประกอบหนังสือนิทานผสมผสานกับจินตนาการที่ต้องการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคการระบายสี (Painting) และใช้เทคนิควิธีการทางคอมพิวเตอร์ในการออกแบบรูปเล่ม เพื่อจัดพิมพ์หนังสือนิทานภาพในรูปแบบ 4 สี เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้เรียนรู้และตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวได้โดยง่ายและมีความสุข ส่วนการเผยแพร่สื่อการเรียนรู้นี้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ จำนวนเผยแพร่ 100 เล่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1. กลุ่มเด็ก ตลอดจนผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 50 คน และกลุ่มที่ 2. ครูและบุคลากรในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่พัฒนาเด็กที่มีเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 50 คน โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจมากที่สุด ทั้ง 2 กลุ่ม ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และทำให้เด็กตลอดจนผู้ปกครองได้เรียนรู้
และตระหนักถึงผลเสียจากการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป ซึ่งหนังสือนิทาน ภาพนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานและแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ โดยภาพประกอบสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กมีส่วนช่วยให้เด็กและผู้ปกครองเกิดความสนใจ และตระหนักถึงผลเสียดังกล่าวอย่างเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ใช้สื่อดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสเผยแพร่หนังสือนิทานภาพนี้ให้แก่เด็ก ตลอดจนผู้สนใจได้อย่างทั่วถึงต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง. (2543). การเขียนภาพประกอบ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ผดุง พรหมมูล. (2547). ศิลปะการสร้างสรรค์ภาพประกอบ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเด็ก.
พิมพ์จิต ตปนียะ. (2555). นักวาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กจะต้องรู้อะไรบ้าง. กรุงเทพฯ : ศิลปกรรมสาร.
ไพฑูรย์ มะณู. (1 พฤศจิกายน 2561). ความหมายของสื่อการสอน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/231415
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (1 พฤศจิกายน 2561). เด็ก หรือ นิยามคำว่าเด็ก (Child). สืบค้นจาก http://haamor.com/th/นิยามคำว่า
เด็ก/
ระพีพรรณ พัฒนาเวช. (1 พฤศจิกายน 2561). หนังสือภาพกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก http://taiwisdom.org/
rpartcl
วิมลิน มีศิริ. (2551). หนังสือภาพ : โครงสร้างการเล่าเรื่องกับการสื่อสารความหมายสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (1 พฤศจิกายน 2561). สื่อดิจิทัลส่งเสริมหรือบั่นทอนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก https://mgronline.com/qol/detail/9620000087277
อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (1 พฤศจิกายน 2561). เตรียมลูกน้อยอย่างไรรับยุคดิจิตอล. สืบค้นจาก
http://www.thaitribune.org/contents/detail/318?content_id=20840&rand=1467310598
อัจฉรา ประดิษฐ์. (1 พฤศจิกายน 2561). ทำความรู้จักกับประเภทของหนังสือภาพ (Picture Books) กันเถอะ!. สืบค้นจาก https://www.parentsone.com/type-of-picture-books/
John W. Best. (1981). Research in Education (4nd edition). New Jersey: Prentice – Hall Inc.
Mgronline. (1 พฤศจิกายน 2561). แพทย์ญี่ปุ่นเตือน สมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อร้ายแรงต่อเด็กในทุกด้าน. สืบค้นจาก https://mgronline.com/japan/detail/9600000017121
Parentsone. (1 พฤศจิกายน 2561). ทำความรู้จักกับประเภทของหนังสือภาพ (Picture Books) กันเถอะ. สืบค้นจาก
https://www.parentsone.com/type-of-picture-books/
pobpad. (1 พฤศจิกายน 2561). ดูทีวี ส่งผลเสียต่อเด็กหรือไม่ ดูแลลูกอย่างไรดี ?. สืบค้นจาก
https://www.pobpad.com/ดูทีวี-ส่งผลเสียต่อเด็ก
sopha2017. (1 พฤศจิกายน 2561). สื่อดิจิทัล. สืบค้นจาก https://sopha2017.wordpress.com/2017/11/07 2017/11/07/ สื่อ ดิจิทัล/
s3.amazonaws. (1 พฤศจิกายน 2561). เด็ก หรือ นิยามคำว่าเด็ก (Child). สืบค้นจาก
https://s3.amazonaws.com/thai-health/เด-ก-หรือ-นิยามคำว-าเด-ก-child