การสร้างสรรค์ละครพูด เรื่อง สุวรรณสามชาดก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแสดงสร้างสรรค์ละครพูด เรื่อง สุวรรณสามชาดก ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ ละครพูด ในกระบวนการเรียนรู้ด้านความกตัญญูต่อบุพการี และเพื่อสร้างสรรค์ละครพูด เรื่อง สุวรรณสามชาดก ด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร วารสาร ตำรา หนังสือพระไตรปิฎก นิทานชาดก พุทธประวัติจากตู้ลายรดน้ำ หนังสือละครพูด หนังสือการสร้างสรรค์ และหนังสือการบูรณาการ เพื่อนำมาสร้างสรรค์ละครพูด เรื่องสุวรรณสามชาดก ผลการวิจัยพบว่า เรื่องสุวรรณสามชาดก กล่าวถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า คือ ทศชาติชาดก ชาติที่ 3 เรื่องสุวรรณสาม กล่าวถึงความกตัญญูต่อบุพการี ซึ่งเป็นพระชาติของพระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส ในการบำเพ็ญเมตตาบารมีด้วยการรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งพระเจ้าปิลยักขราชแผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัสแต่ไม่ได้โกรธกลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้พระเจ้าปิลยักขราชฟังด้วยอำนาจแห่ง เมตตาธรรมทำให้สุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดังเดิม องค์ประกอบของการแสดงสร้างสรรค์ละครพูดเรื่อง สุวรรณสามชาดก ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์บทละครโดยนำเค้าโครงจากหนังสือนิทานพระสุวรรณสาม ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ฉาก และคัดเลือกผู้แสดง ให้ตรงตามลักษณะนิสัยและบุคลิกของ ตัวละครตามบทประพันธ์ทั้งสิ้น 11 คน ออกแบบทำนองเพลง มีทั้งหมด 7 เพลง เสียงประกอบมีทั้งหมด 5 เสียง ออกแบบ เครื่องแต่งกาย โดยอ้างอิงจากหนังสือนิทานพระสุวรรณสาม ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และจากหนังสือตู้ลายรดน้ำ การแต่งหน้านักแสดงใช้วิธีการแต่งหน้าโทนสีธรรมชาติ ออกแบบฉากให้สอดคล้องกับบทประพันธ์ ตามท้องเรื่องที่ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้น อุปกรณ์การแสดง มีทั้งหมด 7 อย่าง และการออกแบบการใช้พื้นที่สำหรับการแสดงบนเวทีแบ่งออกเปน 9 สวน ทั้งนี้การแสดงสร้างสรรค์ละครพูดเรื่องสุวรรณสามชาดก สามารถช่วยให้ผู้ชมมีกระบวนการรับรู้การเข้าใจ เรื่องความกตัญญูกตเวที ต่อบุพการี ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ และเผยแพร่การแสดงเพื่อเป็นประโยชน์และใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจสามารถสร้างสรรค์ละครพูดนำไปใช้ในด้านอื่นๆต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). การออกแบบฉาก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คัคนางค์ มณีศรี. (2559). พัฒนาการของมนุษย์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
____________. (2559). ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จำรัส เศวตาภรณ์. (10 มกราคม 2562). ดนตรีบรรเลง เสียงสวรรค์ เพลงนิพพาน. สืบค้นจาก https://www.
youtube.com/watch?v=YoD89oMw9-E
ทาร์ซาน . (10 มกราคม 2562). เสียงงูจงอาง Tarzan Animal Sound. สืบค้นจากhttps://www.youtube.com/
results?search_query=Tarzan+Animal+Sound
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2528). พระสุวรรณสาม. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งไทยวัฒนาพานิช.
บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2549). ชาดกและพุทธประวัติจากตู้ลายรดน้ำ. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์.
แปดหมื่นสี่พัน. (2561). (10 มกราคม 2562). พระไตรปิฏก ฉบับ ภาษาบาลีอักษรไทย. สืบค้นจาก https://84000.
org/tipitaka/pitaka_item/
พระมหาพิทักษ์ สุเมโธ. (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ เรื่องสุวรรณสามชาดก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระเสงหะ วชิรธมฺโม. (2557). การศึกษาวิเคราะห์หลักรัฐศาสตร์ เรื่องสุวรรณสามชาดก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิกิพีเดีย. (10 มกราคม 2562). ทำนองเพลง. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%
B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87
สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2537). การละครไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
อนัมนิกาย Anamthai. (10 มกราคม 2562). ฟังเพลงสมาธิเบาๆ. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v
=uBJfQMLxc0A&t=6s
Expertvillage.(2019, January 10).TipsforPlayingPercussionInstruments. Retrieved from https://
m.youtube.com/expertvillage?uid=QIGBspQdj17WOPBQMT1k9A
Relaxing Soundzzz. (2019, January 10). Thunderstorm and rain sounds. Retrieved from https://www.
youtube.com/ watch?v=nDq6TstdEi8
Minbu36. (10 มกราคม 2562). ลาวคำหอม ซออู้. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=0tYTqxZsNNk
Pratilop Prombut. (10 มกราคม 2562). ค้างคาวกินกล้วย ระนาดเอก. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/
watch?v=yu4eRjbx26k
Royal Thai Army Band. (10 มกราคม 2562). การแสดงกลองศึก. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/
watch?v=QbCwvTe_u6k
The Ongkhaphayop (10 มกราคม 2562). พญาโศก 2 ชั้น (เดี่ยวซออู้). สืบค้นจาก https://www.youtube.com/
watch?v=YsbsPSTACsU
Witch Wzard. (10 มกราคม 2562). ดนตรีโศกเศร้าบรรเลง. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/
watch?v=ENPgc8GSBzo