โลกเสมือนแห่งสภาวะเด็กติดเกม

Main Article Content

Pattarapon koedprang

บทคัดย่อ

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ปัญหาเด็กติดเกมเกิดจากสมองที่เสพติดสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข จึงมีความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นบ่อย ๆ มักเกิดผลกระทบมากกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากสมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะสมองในส่วนของการยับยั้งชั่งใจและการใช้เหตุผล เด็กวัยนี้จึงมักเกิดภาวะติดเกม ซึ่งส่งผลเสียต่อการเรียน ขาดการเชื่อมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครอบครัว เพราะเด็กมักจะแยกตัวและหลงเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน การหล่อหลอมด้วยความรู้สึกแห่งโลกเสมือนที่มีแต่การแข่งขันและการใช้ความรุนแรงเพื่อต้องการชัยชนะ ทำให้เด็กเสพติดความรุนแรง เมื่อเกิดสถานการณ์ใดในชีวิตจริงเด็กจะใช้อารมณ์รุนแรงมาใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงด้วย ดังจะเห็นได้จากภาวะเด็กทะเลาะวิวาท บาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิต 


            จากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการจำลองภาพเสมือนของเด็กติดเกมเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสถานการณ์เด็กติดเกมที่สังคมกำลังประสบอยู่ อันเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข ผู้วิจัยใช้กระบวนการตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์มาช่วยในการวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของปัญหา โดยสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสื่อผสมเพื่อแสดงออกถึงภาวะเด็กติดเกมด้วยลักษณะที่เยาะเย้ย ถากถาง เปรียบเทียบ ประชดประชัน ผ่านรูปทรงที่ผู้สร้างสรรค์ได้มาจากประสบการณ์ตรง ซึ่งยังคงติดอยู่ในโลกแห่งแฟนตาซีหรือเรียกกันว่า “โลกเสมือน” เป็นโลกที่ทำให้ผู้สร้างสรรค์เหมือนหลุดออกไปจากโลกแห่งความจริง           

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

1.World Health Organization. Gaming disorder. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.who.int/features/qa/gaming-disorder/en/.
2.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. อันตรายของโรคติดเกม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562. จาก http://www.smartteen.net/main/index.php?mode
=maincontent&group=90&id=915&date_start=&date_end=
3.John Dewey. (1997). Experience and Education. New York : The Free Press, 1975. P.71
4.Workman, Leslie J. (1994). Medievalism in Europe. Boydell & Brewer. p. 241. ISBN 9780859914000.
5.Albert Bandura. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
6.Walter B Cannon. (1932). The wisdom of the body. New York, W.W. Norton & Company, Inc., 1932
7.William H. T. Vaughan. (2000). Encyclopedia of artists. Oxford University Press, 2000
8.ประเภทของเกม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562 จาก https://faiblahblah.wordpress.com
9.Alessandro Gallo. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562 จาก https://artaxis.org/alessandro-gallo/
10.Teppei Kaneuji. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562 จาก http://playtime.pem.org/teppei-kaneuji/
11.Mark Ryden. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562 จาก https://www.spankystokes.com/2016/12/mark-rydens-wood-meat-dress-sculpture.html
12.Absorbed by light. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562 จากhttps://arrestedmotion.com/2018/12/showing- absorbed-by-light-amsterdam-light-festival