The ภาพลักษณ์นักร้องหญิงไทย ในบทเพลงไทยลูกทุ่งสมัยนิยม

Main Article Content

อวัสดากานต์ ภูมี

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหาต่างๆจากข่าว สื่อ บทวิจารณ์ ใน บทเพลงไทยลูกทุ่งที่ได้รับความนิยม และเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อต่างๆ ในสังคมไทย   อีกทั้งเพื่อวิเคราะห์ภาพลักษณ์นักร้องลูกทุ่งหญิงไทย ในบทเพลงไทยลูกทุ่งสมัยนิยม ในช่วงปี พ.ศ.2555-2562  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิเคราะห์เนื้อหา


           ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ของนักร้องหญิงไทย ในบทเพลงไทยลูกทุ่งสมัยนิยม ช่วงปี พ.ศ. 2555-2562 จำนวน 23 เพลง สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1)นักร้องหญิงที่มีลักษณะเรียบร้อย อ่อนโยน  2) นักร้องหญิงที่มีลักษณะความสนุกสนาน สดใส 3) นักร้องหญิงที่มีลักษณะเซ็กซี่ กล้าแสดงออก และสร้างภาพจำที่แตกต่างจากนักร้องลูกทุ่งยุคก่อน


          จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น  ภาพลักษณ์ของนักร้องหญิงไทย ในแนวเพลงไทยลูกทุ่งสมัยนิยม ในช่วงปี พ.ศ.2555-2562 นี้ มีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตามกระแสความนิยม การวิจารณ์จากสื่อ ภาพข่าวต่างๆ   รวมถึง เสียงตอบรับของผู้ชม ผู้ฟัง ผู้จ้างงาน  นักร้องหญิงไทยลูกทุ่งสมัยนิยมจึงสามารถเป็นตัวแทนสินค้า เป็นภาพจำในการสร้างจุดขายต่างๆ นอกจากนี้ภาพลักษณ์ของนักร้องหญิงไทยลูกทุ่งนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ทางบริษัทผู้ผลิตเพลง ผู้สร้างสรรค์งานและสร้างศิลปิน เป็นผู้วางแผนและกำหนดขึ้น

Article Details

บท
ดุริยางคศิลป์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2535). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2553). ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์ร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โกวิทย์ ขันธศิริ. (2550). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก(เบื้องต้น). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการ แนวคิด และเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:

บริษัท แอคทีฟ ปริ้นท์ จำกัด.

ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. (2554). สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ ทิวทอง. (2560). อรรถบทการขับร้อง กระบวนแบบและนวัตกรรมการขับร้อง. กรุงเทพมหานคร: วิสคอมเซ็นเตอร์.

ทีวีพูล ออนไลน์. (18 กุมภาพันธ์, 2563). จินตหรา พูลลาภ สุดดีใจปลื้มปริ่ม กระแสเต่างงอยยอดคนดูปังมาก. สืบค้นจาก

tvpoolonline: https://www.tvpoolonline.com/content/760029

ไทยรัฐ. (10 กุมภาพันธ์ 2563). เจนนี่ –ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น ตอบคำถามแฟนๆ ฮอตขนาดนี้มีเงินกี่ล้าน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1743686

ป๋าด่วน. (19 กุมภาพันธ์, 2563). โป๊ (ใจมันเพรียว) เพลงใหม่ใบเตย อาร์สยาม. สืบค้นจาก http://www.painaidii.com/most- like/mostlike-detail/002359/lang/th/

ปัญญา รุ่งเรือง. (2553). หลักวิชามานุษยดุริยางควิทยา. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชัย ปรัชญานุสรณ์. (2545). ดนตรีปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

มิวสิค ทรูไอดี. (15 กุมภาพันธ์, 2563). ฮีกแฮง แสดงบ่ได้ อาม ชุติมา เพลงใหม่ สุดเศร้า ทะยานล้านวิว มาแรงอันดับ 1 ในไม่กี่ ชั่วโมง. สืบค้นจาก Music Trueid: https://music.trueid.net/detail/PV128reK00AE

มิวสิค เอ็มไทย. (20 กุมภาพันธ์, 2563). กระแต อาร์สยาม เต้นยับ ในเอ็มวีเพลงใหม่สุดเริ่ด สะบัด. สืบค้นจาก Music Mthai: https://music.mthai.com/news/newsluktung/236684.html

มิวสิค เอ็มไทย. (20 กุมภาพันธ์, 2563). มีทองเท่าฟัวไม่มีผัวก็ได้ (Gold or hubby?)- จ๊ะ อาร์สยาม. สืบค้นจาก Music Mthai: https://music.mthai.com/clip/musicmv/222575.html

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริพร กรอบทอง. (2547). วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: พันธกิจ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ นาคคง. (2553). หนังสือรวมบทความและบทเสวนาจากการประชุมประจำปี ครั้งที่ 8 เรื่อง ผู้คน ดนตรี ชีวิต. กรุงเทพฯ:

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

อวัสดากานต์ ภูมี. (2555). การแสดงภาพลักษณ์สตรีในบทเพลงไทยสากล: กรณีศึกษาบทเพลงที่ขับร้องโดย ธนพร แวกประยูร.

(วิทยานิพนธ์หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. บัณฑิตวิทยาลัย

Igad lpi. (15 กุมภาพันธ์ 2563). รีวิวบทเพลงสิเทน้องให้บอกแน อีกหนึ่งผลงานบทเพลงจากต่าย อรทัย. สืบค้นจาก http://www.igad-lpi.org/รีวิวบทเพลง-สิเทน้อง-ให

Marsmag. (21 กุมภาพันธ์ 2563). ปรากฏการณ์ผู้สาวขาเลาะ ลำไย ไหทองคำ. สืบค้นจาก https://mgronline.com/ marsmag/detail/9600000044768

Matichon. (15 กุมภาพันธ์ 2563). จากชีวิตลำบากสู่เจ้าของแบรนด์ ลำไย ไหทองคำ ศึกษาเส้นทางสาวขาเลาะ ที่ก้าวทะยาน รวดเร็ว. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/entertainment/news_640228

PauLLie. (20 กุมภาพันธ์ 2563). ฮิตสุดแรง ขอใจแลกเบอร์โทร ใคร ก็ร้อง เล่น เต้น ตาม. สืบค้นจาก

http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/001109/lang/th/

Siamdara. (28 กุมภาพันธ์ 2563). ล้วงไหทองคำ ลำไย อินดี้ สายเด้า ผู้สาวขาเลาะ 100 ล้าน. สืบค้นจาก http://www.siamdara.com/entertain/music/1046428

Sidhipong W. (20 กุมภาพันธ์ 2563). ตั๊กแตน ชลลดา จากศิลปินลูกทุ่งสาวหวาน สู่นักร้องลำซิ่งที่ฉีกแนวเดิม. สืบค้นจาก

https://www.sanook.com/music/2394669/