การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงรส ตราปลาร้าพารวย จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงรส ตราปลาร้าพารวย จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์เดิมของน้ำปลาร้าปรุงรส ตราปลาร้าพารวย ในการวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้มีความทันสมัย มีอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงสินค้าและองค์กร มีเอกลักษณ์ให้เกิดความน่าสนใจ และสามารถช่วยในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงข้อมูลของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมต่อยอดในการขยายตลาดให้มากยิ่งขึ้น
จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่า บรรจุภัณฑ์เดิมนั้นไม่สามารถสื่อสารได้ชัดเจนทั้งในเรื่องของตราสัญลักษณ์ที่มีภาพประกอบไม่โดดเด่นคุณภาพที่ไม่คมชัด การจัดวางของฉลากสินค้าไม่ทำให้เกิดความน่าสนใจ ไม่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แน่ชัดทำให้กลุ่มผู้บริโภคเกิดความสับสนได้ รวมถึงข้อมูลบนฉลากสินค้าไม่ครบถ้วนตามหลักของบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ผู้วิจัยจึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในแนวคิด “ปลาร้าพารวย” ให้มีความทันสมัยและชัดเจนยิ่งขึ้นสร้างจุดเด่นกับสินค้าและองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย การออกแบบบตราสัญลักษณ์, ฉลากน้ำปลาร้าปรุงรส, ฉลากน้ำพริกตาแดง, ฉลากปลาร้าผงใสแกง, ฉลากปลาร้าสับสมุนไพร และ บรรจุภัณฑ์รวมชุด จำนวน 3 ต้นแบบ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้คัดเลือกต้นแบบในการพัฒนาต่อยอด
กลุ่มประชากรในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้จัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ปลาร้าปรุงรส ตราปลาร้าพารวย ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ และกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 115 คน โดยเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและประเมินความพึงพอใจ เพื่อนำผลการประเมินมาสรุป วิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอภิปรายผล
จากการสรุปผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงรส ตราปลาร้าพารวย จังหวัดสระแก้ว พบว่าต้นแบบที่ 2 ได้รับคัดเลือก คิดเป็นร้อยละ 67.8 และมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมที่ 4.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
2.ปัทมาพร ท่อชู. การทำความเข้าใจ การออกแบบการบรรจุภัณฑ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thailandindustry.com. วันที่สืบค้น 28 ตุลาคม 2561.
3.ประภาศิริ วอล์คเกอร์. ผู้ประกอบการผลิตภัฑณ์ปลาร้าพารวย. สัมภาษณ์, 20 ตุลาคม 2561.
4.วรพงศ์ วรชาติอุดมพงษ์. ออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, 2535.
5.วิรุณ ตั้งเจริญ. การออกแบบ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์วิฌวลอาร์ต. 2526.