การจำแนกรูปแบบตัวพิมพ์ไทยตามบุคลิกภาพของตัวอักษร

Main Article Content

Kreetha Thumcharoensathit
มารุต พิเชษฐวิทย์
รองศาสตราจารย์อารยะ ศรีกัลยาณบุตร

บทคัดย่อ

บุคลิกภาพของตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์ในงานเรขศิลป์ นับเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความหมายของข้อความให้เกิดความชัดเจน และช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์นั้นมีอยู่เป็นจำนวนน้อยโดยเฉพาะเรื่องบุคลิกภาพของตัวพิมพ์ไทย


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จำแนกรูปแบบตัวพิมพ์ไทยให้สัมพันธ์กับบุคลิกภาพประเภทต่างๆ 2) ศึกษาการเลือกใช้แบบตัวพิมพ์ไทยตามรูปแบบของบุคลิกภาพ โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวพิมพ์ไทยจากค่ายผู้ผลิตที่ได้รับการยอมรับ จำนวน 562 แบบ


            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวอักษร จำนวน 7 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ในสถาบันการศึกษา 3 คน กลุ่มนักออกแบบตัวพิมพ์มืออาชีพ 4 คน 2) การสนทนาแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานตัวพิมพ์ไทย จำนวน 7 คน ประกอบด้วย นักการตลาดหรือนักประชาสัมพันธ์ 3 คน กลุ่มนักออกแบบกราฟิก 4 คน วิเคราะห์และสรุปผลโดยแสดงในรูปจำนวนร้อยละและจัดเรียงตามลำดับคะแนน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ตัวพิมพ์ไทยสามารถจำแนกตามรูปแบบบุคลิกภาพของตัวอักษรได้ทั้งสิ้น 15 ประเภท เรียงตามลำดับคือ ผู้ช่วยเหลือ (16 รูปแบบ) วีรบุรุษ เจ้าเสน่ห์ (15 รูปแบบ) ผู้วิเศษ มารดา (14 รูปแบบ) นักปราชญ์ นักรบ นักรัก (13 รูปแบบ) ราชา ขบถ (12 รูปแบบ) ผู้สันโดษ (11 รูปแบบ) จอมเจ้าเล่ห์ ผู้ไร้เดียงสา เพื่อนสนิท (10 รูปแบบ) ผู้แสวงหา (9 รูปแบบ)

  2. การเลือกใช้แบบตัวพิมพ์ไทยตามรูปแบบของบุคลิกภาพ พบว่า มีระดับการเลือกใช้มากที่สุด คือ ผู้แสวงหาและผู้ช่วยเหลือ รองลงมาคือ ระดับมาก ได้แก่ มารดา ขบถ เจ้าเสน่ห์ ผู้สันโดษ จอมเจ้าเล่ห์ ระดับปานกลาง ได้แก่ ผู้วิเศษ นักรัก เพื่อนสนิท นักปราชญ์ ระดับน้อย ได้แก่ นักรบ วีรบุรุษ ระดับน้อยที่สุด ได้แก่ ผู้ไร้เดียงสา ราชา

            สรุปได้ว่า ตัวพิมพ์ไทยใช้สื่อความหมายถึงบุคลิกภาพประเภทผู้ช่วยเหลือได้มากที่สุดและถูกเลือกใช้ในระดับมากที่สุดอีกด้วย รองลงมาคือตัวอักษรบุคลิกภาพเจ้าเสน่ห์ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจอาจนำไปใช้เป็นประเด็นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ในโอกาสต่อไป คือ ประเด็นบุคลิกด้านอื่นๆ ที่สะท้อนคุณลักษณะของการออกแบบที่ครอบคลุม เช่น มีเหตุมีผล อนุรักษ์นิยม ทันสมัย หรือประเด็นส่วนประกอบของตัวอักษรที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหัวตัวอักษร ได้แก่ ลักษณะของเส้น ลักษณะของส่วนต่อเชื่อมของเส้น ความกว้าง ความสูงของตัวอักษร และพื้นที่ว่างภายในของตัวอักษร เป็นต้น

Article Details

บท
การออกแบบ

References

ประชา สุวีรานนท์ และจิระ จริงจิตร. (2548). ศิลปะการออกแบบตัวพิมพ์. OPEN TYPES. กรุงเทพฯ: CORE FUNCTION.

ทีมงาน Y&R. (2550). โฆษณา โฆษณุก. กรุงเทพฯ: บริษัท พี ซี พริ้นท์เทค จำกัด.

สำเร็จ จารุอมรจิต. (2522). เทคโนโลยีก่อนพิมพ์. ใน หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.