การออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ตกแต่งผนังบ้านจากเศษผ้าไหมเหลือทิ้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนังบ้านจากเศษผ้าไหมที่เหลือทิ้งจากการตัดเย็บจากเศษผ้าไหม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้านคุณสมบัติของลวดลายและสีสันที่สวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมไทย ซึ่งด้วยคุณสมบัตินี้ จึงนำมาสู่การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากเศษผ้าไหมเหลือทิ้ง จำนวน 3 รูปแบบ โดยมีวิธีการจัดวางในรูปแบบต่างๆดังนี้ โครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง โครงสร้างรูปวงกลม และโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน
การสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนังบ้านจากเศษผ้าไหมเหลือทิ้งพบว่าสีของเศษผ้าไหมเป็นตัวการสำคัญที่จะสร้างอารมณ์ความรู้สึกและกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์งานออกแบบ โดยการจัดวางสีให้เกิดจังหวะลีลาแสดงค่าน้ำหนักของสี ซึ่งองค์ความรู้คือการใช้ประโยชน์จากเศษผ้าไหมเหลือทิ้งจากการตัดเย็บ คือหลักการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนังบ้านจากเศษผ้าไหม มีเทคนิคที่สามารถทำได้หลายรูปแบบและมีสีเป็นตัวกำหนด โดยสีเกิดจากลวดลายของผ้าไหม แสดงคุณค่าในเรื่องของผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนังบ้านได้หลายรูปแบบ สามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดคุณค่าความงามตามจังหวะลีลาของสีสันและลวดลาย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองสุพรรณบุรี. (9 ก.ค. 2559). ผ้าไทย. สืบค้นจาก http://province.m-culture.go.th/suphanburi/silk1.html
ภูมิปัญญาไทย. (11 มิ.ย.2559). วัฒนธรรมผ้าถิ่นไทย. สืบค้นข้อมูล http://www.otoptoday.com/wisdom/8445
ศศิวรรณ ดำรงศิริ. (2539). ศิลปะบนผ้าไหมมัดหมี่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทยกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม.
สมชาย พรหมสุวรรณ. (2548). หลักการทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.