ฟ้อนกระธูปบูชาพระพุทธคุณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเพณีบุญแห่กระธูปเป็นวัฒนธรรมของชาวอีสาน อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญแห่กระธูป อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และสร้างสรรค์การแสดงชุด ฟ้อนกระธูปบูชาพระพุทธคุณ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสร้างสรรค์เชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ประสบการณ์ของผู้วิจัย และนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ออกสู่สาธารณะ รวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ สรุปผล และอภิปรายผลตามความมุ่งหมายดังกล่าว พบว่าประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญแห่กระธูป เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวพุทธในภาคอีสานและมีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิต ถือว่าในช่วงวันออกพรรษาชาวพุทธจะมีการถวายสักการะองค์สัมมาสัมมาพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากโปรดพุทธมารดาได้จัดงานประเพณีบุญแห่กระธูปจัดขึ้นในทุกปี ถือเป็นวันแห่ต้นกระธูป การทำต้นกระธูปที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปสมโภชที่วัดนั้นจะทำแบบเรียบง่ายตามความเลื่อมใสศรัทธาพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งวัสดุที่นำมาทำกระธูป ได้จากวัสดุภายในท้องถิ่น ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์การแสดงที่ถ่ายทอดประเพณีบุญแห่กระธูปออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ชุด ฟ้อนกระธูปบูชาพระพุทธคุณ ซึ่งมีองค์ประกอบการแสดง 5 องค์ประกอบ (1) การกำหนดชื่อชุดการแสดง (2) ดนตรีเนื้อร้องทำนอง (3) การออกแบบท่ารำ (4) เครื่องแต่งกาย และ (5) การคัดเลือกนักแสดง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
นิยพรรณ วรรณศิริ (2540). ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม. มนุษย์วิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร:ภาควิชา สังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญสนอง หอมระหัด. ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ, สัมภาษณ์, 19 ธันวาคม 2560
ภูวไนย ดิเรกศิลป์. อาจารย์สาขาดุริยางศิลป์ แขนงวิชาดนตรีพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2560.
ยุพา กาฬเนตร และคณะ (2544). ประเพณีอีสานในเชิงอนุรักษ์และเผยแพร่. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ศิริ ฮามสุโพธ์.
ราตรี ศรีวิไล. ราชินีหมอลำซิ่ง. สัมภาษณ์, 4 ธันวาคม 2560
รัจนา พวงประยงค์. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง. สัมภาษณ์, 3 กันยายน 2561.
สามพร มณีไมตรีจิต. (2539). บทบาทวัฒนธรรมไทยกับการท่องเที่ยว. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ โครงการสืบเสาะ วัฒนธรรมไทย ภูมิไทยนิยมไทย. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.