การสร้างสรรค์ชุดการแสดง “สุครีพทรงเครื่อง”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดง “สุครีพทรงเครื่อง” โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการรำลงสรง องค์ประกอบ วิธีแสดง และกระบวนท่ารำ ของการรำลงสรงที่ปรากฏในการแสดงโขนและละคร จากตำรา เอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์ไทย และ การสนทนากลุ่ม (Foces Group) เพื่อนำมาวิเคราะห์หลักและแนวทางการประดิษฐ์กระบวนท่ารำ
จากการศึกษาพบว่า การลงสรงแต่งตัวในการแสดงโขนจะมีทั้งตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ซึ่งบทลงสรงแต่งตัวของตัวโขนจะมีปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ทั้งในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 แสดงความหมายถึงการอาบน้ำแต่งตัวของกษัตริย์ แต่สุครีพซึ่งมีตำแหน่งเป็น “พระยาไวยวงศามหาสุรเดช” ครองเมืองขีดขิน ไม่มีปรากฏบทการรำลงสรงแต่งตัว ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดว่าควรมีการรำลงสรงแต่งตัวของสุครีพก่อนออกว่าราชการเมืองขีดขิน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างสรรค์งานตามองค์ประกอบการแสดง ประกอบด้วย 1. ดนตรีและเพลงร้อง จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงรัว เพลงชมตลาด เพลงฉุยฉาย เพลงแม่ศรี และเพลงพญาเดิน 2. เครื่องแต่งกายทรงเครื่องสุครีพ 3. อุปกรณ์ประกอบการแสดง กระบวนท่ารำของสุครีพทรงเครื่องเป็นท่ารำประกอบเพลงหน้าพาทย์สื่อถึงการเดินทาง มีการตีบทใช้บทประกอบบทร้อง โดยการแสดงสื่อถึงลักษณะการแต่งกาย อาวุธและความ กล้าหาญของตัวสุครีพ
ขั้นตอนการแสดงผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบการแสดง โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 การเปิดตัวสุครีพ แสดงให้เห็นถึงการมาถึงของตัวสุครีพหลังจากการแต่งตัวเพื่อเตรียมออกว่าราชการในฐานะผู้ครองนคร ช่วงที่ 2 การชมเครื่องทรงของตัวสุครีพ สื่อให้เห็นถึงรายละเอียดของเครื่องแต่งกายซึ่งเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ ช่วงที่ 3 สื่อให้เห็นถึงความกล้าหาญ และได้ตำแหน่งใหม่ ครองเมืองขีดขิน และช่วงที่ 4 สื่อให้เห็นถึงความสง่างามของตัวสุครีพทรงเครื่อง ผู้ครองเมืองขีดขินอย่างสมบูรณ์ เป็นบุคลิกที่มีความลงตัวของสุครีพในฐานะ “พระยาไวยวงศามหาสุรเดช”
การสร้างสรรค์ชุดการแสดง “สุครีพทรงเครื่อง” นี้ สามารถนำมาใช้เป็นชุดการแสดงรำเดี่ยวหรือประกอบการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด สุครีพครองเมือง ได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
คุรุสภาลาดพร้าว.
จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์. (2527). นาฏศิลป์ศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อักษรสยามการพิมพ์.
ชะลูด นิ่มเสมอ. (2539). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2542). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2531). ศิลปะละครรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : ศิวพร.
บัณฑิต เข็มทอง. (2555). บทบาทหนุมานลงสรงในการแสดงโขน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
นาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา นิตยสุวรรณ. (2529). “รำฉุยฉาย”. วัฒนธรรมไทย, ปีที่ 25(ฉบับที่ 7).
ประภาสี สีหอำไพ. (2531). การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ผุสดี หลิมสกุล. (2549). รำเดี่ยวแบบมาตรฐาน ตัวนาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร :
เพชรกะรัต.
. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : เพชรกะรัต.
. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร : เพชรกะรัต.
. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร : เพชรกะรัต.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2540). บทละครนอกรวม 6 เรื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร :
อมรการพิมพ์.
. (2498). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
. (2498). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
. (2498). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
พานี สีสวย. (2534). สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2547). แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานาฏยศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี ตราโมท. (2534). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว.
รานี ชัยสงคราม. (2544). นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าคุรุสภา.
เรณู โกศินานนท์. (2545). นาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วรรณพินี สุขสม. (2546). ลงสรงโทน รูปแบบการแสดงละครใน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, ภาควิชานาฏยศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตร เทพวงษ์. (2534). ฉุยฉาย. กรุงเทพมหานคร : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุดใจ ทศพร. (2544). ศิลปะ ดนตรี – นาฏศิลป์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกรัตน์ อุดมพร. (2544). วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-2-3. กรุงเพทมหานคร : เรืองแสงการพิมพ์,
. (2544). วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี. กรุงเพทมหานคร : เรืองแสงการพิมพ์.
อุดม อังศุธร. (2548). ลงสรงโทน. ใน ลมุล ยมคุปต์ คุณานุสรณ์ ครบรอบ 100 ปี, หน้า 99. ม.ป.ท.