การพัฒนาลวดลายผ้าพิมพ์จากลวดลายสิ่งทอลาวโซ่ง สู่การออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์แฟชั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาลวดลายผ้าพิมพ์จากลวดลายสิ่งทอลาวโซ่ง สู่การออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์(Life style) แฟชั่น เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบลวดลายจากกลุ่มลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและสวยงามเหมาะแก่การอนุรักษ์และสืบทอดสู่คนรุ่นหลัง ให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในปัจจุบัน สินค้าไลฟ์สไตล์แฟชั่น(Life style) ของกลุ่มลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการผลิตผลงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่เรียบง่ายและไม่ได้มีการดีไซน์ที่โดดเด่นมากนัก จากการสอบถามผู้นำกลุ่มของชุมชนในการลงพื้นที่ ผู้วิจัยจึงได้นำปัญหาเบื้องต้นจากการสัมภาษณ์ดังกล่าวในด้านงานดีไซน์มาปรับแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานและแก้ไขรูปแบบสินค้าผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามและตอบโจทย์การใช้งานทางแฟชั่นที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้นตามยุคสมัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาลวดลายผ้าจากลวดลายสิ่งทอลาวโซ่ง 2. เพื่อนำลวดลายผ้าจากลวดลายสิ่งทอลาวโซ่ง มาสร้างสรรค์สินค้าไลฟ์สไตล์(Life style) แฟชั่น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.
ชลูด นิ่มเสมอ.2557. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์, พิมพ์ครั้งที่ 9.
ณัฏฐภัทร จันทวิช.2545. ผ้าพิมพ์ลายโบราณในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร สำนัก โบราณคดีและ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.
ประยุทธ สืบอารีพงศ์. 2552. โซ่งดอนมะนาว วิถีชีวิตชุมชนไทยทรงดำบ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี,
สุพรรณบุรี : กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำบ้านดอนมะนาว,พิมพ์ครั้งที่2.
ประเสริฐ พิชยะสุนทร. 2555. ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัจฉราพร ไศละสูต.2526. การออกแบบลวดลายและเทคนิคการพิมพ์ผ้า. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์. พิมพ์ครั้งที่ 3
ดวงใจ อุชชิน และ รัฐไท พรเจริญ. 2559. “การศึกษาและการออกแบบผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น
เครื่องประดับโดยนำแนวคิดความเชื่อจากวัฒนธรรมไทยทรงดำ (กรณีศึกษา : กลุ่มสตรีทอผ้าไทยทรงดำ บ้านหัวเขาจีน
อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี)”. กรุงเทพฯ : วราสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 7 ฉบับที่
1 หน้าที่ 39 – 55.
จุรีวรรณ จันพลา, วลี สงสุวงค์ และคณะผู้จัดทำ. 2559.”การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตาม
แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์”. กรุงเทพฯ : วราสาร Veridan E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ,
หน้าที่ 82 – 98 , ISSN 1906 – 3431.
ขวัญยืน ทองดอนจุย.2557. กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำบ้านดอนมะนาว . 20 กรกฎาคม 2562,
http://www.Thaitambon.com /, (online),