เทคนิคการแก้ปัญหาการปฏิบัติดนตรีของนักศึกษาวิชาเอกดนตรี

Main Article Content

อวัสดากานต์ ภูมี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง เทคนิคการแก้ปัญหาการปฏิบัติดนตรีของนักศึกษาวิชาเอกดนตรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนปฏิบัติทักษะดนตรี ของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี  2) เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทักษะทางดนตรี 3) เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติทางดนตรีของนักศึกษาวิชาเอกดนตรี 


                    จากการศึกษา  ค้นคว้า  รวบรวมข้อมูลจากากรสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน      ตัวแทนนักศึกษา พบว่า ปัญหาสำคัญในการปฏิบัติทักษะดนตรีของนักศึกษาในแต่ละกลุ่มเครื่องเอก  มีดังนี้ 1) ทักษะพื้นฐานทางดนตรีของนักศึกษาที่มีความแตกต่างกัน, การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน 2) การอ่านโน้ตได้ช้า 3)วินัยในการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ 4)การปฏิบัติในอัตราจังหวะ 5)ควบคุมเสียงในการปฏิบัติทักษะ 6)การตีความวิเคราะห์เทคนิคการปฏิบัติที่ใช้ในบทเพลง 


                     โดยผู้วิจัย ได้วิเคราะห์ข้อปัญหา เทคนิค รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาการปฏิบัติดนตรีให้แก่นักศึกษา จากผลของการแก้ไขจุดที่ต้องพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติของแต่ละกลุ่มเครื่องเอก ส่งผลให้นักศึกษามีการพัฒนาทักษะที่ดีขึ้น จากผลการสอบปฏิบัติทางด้านทักษะ ภาคการศึกษาที่ 2 ในปีการศึกษา  2561  อีกทั้งนักศึกษายังมีวินัยการฝึกซ้อมที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีทักษะทางดนตรีที่ดีขึ้นตามลำดับ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562

Article Details

บท
ดุริยางคศิลป์

References

กิดานันท์ ชำนาญเวช, ณัฏฐ์ชุดา ชำนาญเวช และ วิไลวรรณ ศรีสงคราม. (2551). “ปัจจัยสิ่งแวดล้อมใน
ห้องเรียนที่มีผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.” กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
กุมาริกา ศุภการ. (2555). ปัญหาที่พบบ่อยในการร้องเพลงคลาสสิกสำหรับนักศึกษาไทยระดับชั้นอุดมศึกษา
และเตรียมอุดมดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
โกวิทย์ ขันธศิริ. (2550). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก(เบื้องต้น). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จำเนียร ช่วงโชติ. (2515). จิตวิทยาการรับรู้และเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2534). พื้นฐานการศึกษา หลักการและแนวคิดทางสังคม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการ แนวคิด และเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท แอคทีฟ ปริ้นท์ จำกัด.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะศิลปกรรมศาสตร์ศาสตร์. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาดนตรี. (2559). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศศิวิมล ช่างเรียน. (2548) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาเครื่องดนตรีปฏิบัติสากลของ
นักเรียนเตรียมอุดมดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5-6 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันไทยคดีศึกษา. (2552). เล่าเรื่องเครื่องดนตรีชิ้นเอก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ สร้อยระย้า. (2538). เครื่องเคาะตี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ ตันประยูร. (2539). สังคมวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.
Awasdakan Poomee. 2019. Basic Vocal Skills Development of the First Year Vocal
Major Music Students Suan Sunandha Rajabhat University. Full Paper of Research. KEAS- 25 MAY 2019.