การจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา 
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร

Main Article Content

ปาลิกา อินทนันชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร และนำเสนอแนวทางพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัด  วชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถาม กับเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารและบุคลากรในแหล่งเรียนรู้ 2) กลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และ 3) กลุ่มผู้เข้าใช้แหล่งเรียนรู้


            ผลการวิจัยพบว่า การจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร มีองค์ประกอบสำคัญด้วยกัน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน 2) ด้านการมีส่วนร่วมจากภายในและภายนอกองค์กร 3) ด้านการสงวนรักษาทรัพยากรวัฒนธรรม และ 4) ด้านการให้บริการของแหล่งเรียนรู้ เพื่อช่วยให้โรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เกิดการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน


            ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหารว่า ควรจัดทำแผนงบประมาณและบันทึกรายการด้านการเงินที่เป็นระบบอย่างชัดเจน รวมถึงการสรรหางบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการจัดการดำเนินงาน โดยนำเอาทรัพยากรทางวัฒนธรรมอย่างศิลปวัฒนธรรมล้านนามาใช้เพื่อช่วยเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมล้านนา รวมถึงการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้แหล่งเรียนรู้สำหรับเป็นฐานข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับผู้ที่มีสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรมล้านนา

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

เอกสารอ้างอิง
กฤษฎา ตัสมา. (2556). การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะโบราณคดี, สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม.
จําปา แสนพรม. ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งโรงเรียนสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร. (9 มิถุนายน 2562). สัมภาษณ์.
ทัศนวรรณ ธิมาคำ, รัตนา ณ ลำพูน, ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2553). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเรื่อง การทอผ้ายกลำพูน. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 28(2).
ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2557). เส้นทางการสืบสานภูมิปัญญาอาหารล้านนาสู่ความยั่งยืน. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 35(2), 189-205.
ธิดารัตน์ นาคบุตร. (2552). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สาขาทัศนศิลป์: กรณีศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม.
บุษกร เข่งเจริญ. (2553). การจัดการแหล่งเรียนรู้ของจิ๋วเพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิตไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาการบริหารงานทางวัฒนธรรม.
มงคลรัตน์ มหมัดซอและ. (2553). การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาการบริหารงานทางวัฒนธรรม.
มนัญญา นวลศรี. (2552). แนวทางในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). เกณฑ์มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมศึกษา.
สุจารีย์ จรัสด้วง. (2552). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาการบริหารงานทางวัฒนธรรม.
UNESCO. (2005). A situational analysis of education for sustainable development in the `Asia Pacific Region. Bangkok: Author.
UNESCO. (2018). Basic Texts of the 2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Paris: UNESCO,
Yamane, T. (1967). Statistics; An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.