การออกแบบตัวอักษรภายใต้แรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อใช้ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้

Main Article Content

บัญชา จุลุกุล

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการออกแบบตัวอักษร 2) เพื่อออกแบบตัวอักษรที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของภาคใต้ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลและทฤษฎีในการออกแบบชุดตัวอักษร และ ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ (หนังตะลุง) จากหนังสือเอกสารต่าง ๆ และลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต  ถ่ายรูป และจดบันทึก ข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการแกะหนังตะลุง และบริบทต่างๆ ของหนังตะลุง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการออกแบบร่างตัวอักษรลงบนกระดาษแล้วนำไปออกแบบในคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเป็นชุดต้นแบบตัวอักษรแล้วนำเสนอต่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวอักษรหลังจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขและนำไปเผยแพร่สู่ชุมชนเพื่อใช้สำหรับงานออกแบบบนบรรจุภัณฑ์หรืองานสิ่งพิมพ์ทั่วไป การออกแบบตัวอักษรภายใต้แรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อใช้ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ อยู่ในเกณฑ์ระดับดี (=4.24) (S.D=0.67) การวิจัยการออกแบบตัวอักษรครั้งนี้ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถแสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นภาคใต้และสร้างความจดจำให้กับสร้างสินค้าผ่านรูปแบบตัวอักบนบรรจุภัณฑ์และสามารถเพิ่มยอดการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้มากขึ้น

Article Details

บท
การออกแบบ

References

กิตติธัช ศรีฟ้า. (2561). การออกแบบชุดตัวอักษรของมหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่.

ไพเวช วังบอน. (2551). หลักสูตรการอบรม โครงการพัฒนาบุคลากรด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ประเสริฐ พิชยะสุนทร. (2556). พื้นฐานการออกแบบ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

วุฒินันท์ รัตสุข และปฐวี ศรีโสภา. (2559). การออกแบบตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปในรูปแบบเลขนศิลป์ แบบลาวโซ่ง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศักดิ์ชาย สิกขา. (2555). ผลิตภัณชุมชนจากภูมิปัญญาสู่สากล. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี,

หนังตะลุง. สืบค้น 20 มกราคม 2562, จาก https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/50385f2c