การสร้างสรรค์ชุดการแสดง “ทหารเสือพระเจ้าตาก”

Main Article Content

Chut Suwanbenjank

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดง “ทหารเสือพระเจ้าตาก” โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาในวีรกรรมกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารเอกคู่พระทัย กระบวนการรำกระบี่กระบอง จากตำรา เอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ  ด้านนาฏศิลป์และการเล่นกระบี่กระบอง รวมทั้งการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อนำมาวิเคราะห์หลักและแนวคิดการประดิษฐ์กระบวนท่ารำ 


               ผลการศึกษาพบว่า ทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มี 4 ท่าน  คือ พระยาพิชัย  พระเชียงเงิน  หลวงพรหมเสนา และหมื่นราชเสน่หา โดยแต่ละท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถแตกต่างกัน  ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์งานตามองค์ประกอบการแสดง ซึ่งประกอบด้วย 1. ดนตรีและเพลงร้อง จำนวน 6 เพลง  ได้แก่  เพลงกราวกลาง  เพลงโยนดาบ  เพลงเขมรสุดใจ  เพลงสิงโต  เพลงสารถี  และเพลงช้างประสานงา  2. เครื่องแต่งกาย  และ 3. อุปกรณ์การแสดง  กระบวนท่ารำเป็นกระบวนท่ารำที่มีลีลาท่ารำของการเล่นกระบี่กระบองผสมผสานกับลีลาท่ารำอย่างนาฏศิลป์ไทย เป็นการรำประกอบเพลง มีการตีบท ใช้บทประกอบบทร้อง โดยแสดงถึงลักษณะเฉพาะตัวของทหารเสือพระเจ้าตาก 


               ขั้นตอนการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้  ช่วงที่ 1 ประชุมพลผจญศึก สื่อให้เห็นถึงความเข็มแข็ง ความเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธของทหารกล้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ช่วงที่ 2 สี่หาญฮึกเคียงราชา แสดงให้เห็นถึงความเก่งกล้าของเหล่าทหารเสือ   พระเจ้าตากที่มีความรอบรู้ในศาสตร์แต่ละแขนง ช่วงที่ 3 ยกโยธาบีฑาพาล สื่อให้เห็นถึงสมรรถนะของกองกำลังพระเจ้าตากที่พร้อมจะต่อสู้ปกป้องประเทศชาติ ถวายชีวิตเป็นราชพลี สมกับได้ชื่อว่า “ทหารเสือพระเจ้าตาก”


            การสร้างสรรค์ชุดการแสดง “ทหารเสือพระเจ้าตาก” นี้ สามารถนำมาใช้เป็นชุดการแสดงเฉพาะในการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  และนำไปแสดงเป็นชุดวิพิธทัศนาได้

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

คุรุสภา. (2512). ประชุมพงศาวดารกรุงธนบุรีภาคที่ 65. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์.

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2536). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

. (2542). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ประทิน พวงสำลี. (2514). หลักนาฏศิลป์. พระนคร: ไทยมิตรการพิมพ์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.