การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยชุด Far or Near (ไกลหรือใกล้)

Main Article Content

วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ
พชรพร ฤกษ์สะอาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยชุดการแสดง Far or Near (ไกลหรือใกล้) มีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดง Far or Near (ไกลหรือใกล้) มุ่งเน้นให้บุคคลทั่วไปได้เห็นคุณค่าของชีวิต และตระหนักรู้ในการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท โดยได้ศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ จากนั้นจึงนำมาสร้างสรรค์การแสดงและเผยแพร่ผลงานตามลำดับ ผลวิจัยพบว่า ด้วยสถานการณ์โรคโคโรน่า 2019 (โควิด19) ในปัจจุบันมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพตนเองเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงได้นำแนวคิดมาใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยนี้ดำเนินเรื่องด้วยวิธีการสื่อสารบนพื้นฐานแห่งความตาย โดยประยุกต์ท่ารำของการแสดงภาคเหนือที่ลีลาอ่อนช้อย เชื่องช้า กรีดกราย ด้วยท่วงท่าอันงดงามนี้มาสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครหลัก คือ ผีผู้ป่วยติดเชื้อโคโรน่า 2019 ให้บุคลิกภาพของผี (Character) มีอากัปกิริยาและการเคลื่อนไหวเชื่องช้าคล้ายศิลปะการฟ้อนรำของภาคเหนือ เมื่อผสมผสานกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของการแสดง ได้แก่ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง พื้นที่การแสดง สามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครให้เศร้าและมีความหดหู่ได้อย่างสมจริงและน่าเชื่อ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนด้วยวิธีการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ยูทูป (You tube) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). “สาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 อย่างรวดเร็ว.” คลังความรู้สุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=730.

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ. (2563). องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก. การตีตราทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19.

เฉลิมชัย สุวรรณวัฒนา. (2563). “สีในวัฒนธรรมคติความเชื่อของไทย.” วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิฐดา นุชบุษบา. (2562). “เทคนิคการฟ้อนนีโอล้านนาในละครฟ้อนล้านนา เรื่องพรหมจักร

ของกฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ”. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).

ทิพิชา โปษยานนท์, นภินทร ศิริไทย และศิริธร อรไชย. (2563). รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัยโควิด 19: แนวปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในชุมชน. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

บริษัทฐานเศรษฐกิจมัลติมีเดียจำกัด. (2563). “ผีอินโดโควิด.” ฐานเศรษฐกิจ.

https://www.thansettakij.com/content/430336.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2550). “การศึกษาการตระรู้ทางสังคม และการสร้างโมเดลการให้คำปรึกษากลุ่ม เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคมของวัยรุ่นไทย.” วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ภัทราพร เจริญรัตน์. (2559). “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยสะท้อนด้านมืดจากดอกกุหลาบ.” วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี ศรีสุวรรณ. (2546). “การศึกษาระบำนาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านภาคใต้.” รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัยสถาบันราชภัฏสงขลา, 14-16. สงขลา: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏสงขลา.

โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ. (ม.ป.ป.). “มาตรการดูแลสุขภาพป้องกันโรคโคโรน่า.” โรงพยาบาลศิ

ครินทร์ กรุงเทพ. สืบค้นจาก https://www.sikarin.com/content/detail/408/วิธีการป้องกัน-รับมือ-ไวรัส-covid-19.

วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ. (ม.ป.ป.). “Method Acting.” Acting (การแสดง). สืบค้นจาก https://1th.me/hkrrz.

วีระยุทธ เชาวน์ปรีชา. (ม.ป.ป.). “กระดูกและข้อ”. ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลวิภาวดี. สืบค้นจาก https://www.vibhavadi.com/orthopedic/resourcesdetail.php?id=70.

ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2563). “จะผ่านพ้นวิกฤตโลก โควิด 19 ระบาด ด้วยฐานความรู้และกาปฏิบัติ.” วารสารวิจัยระบบสาธารณะสุข, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม).

สมิทธิ์ เจือจินดา และวรรณนภา โพธิ์ผลิ. (2562). “การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าของตนเองสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี.” รายงานวิจัยฉบับนี้สนับสนุนทุนจากงบประมาณแผ่นดิน, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สิทธา สว่างศรี และวิชชุตา วุธาทิตย์. (2558). “นาฏยประดิษฐ์ของสภาพร สนทอง.”

วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มีนาคม-สิงหาคม).

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริ และถาวร สุมนมาลย์. (2563). “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID19).” วารสารสถาบันบำราศนราดูร, ปีที่14 ฉบับที่1 (มกราคม-เมษายน).

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). “รู้ทันโควิด.” สืบค้นจาก https://1th.me/oezzm.

“ฟ้อนเล็บ.” (ม.ป.ป.). บ้านรำไทย. สืบค้นจาก http://www.banramthai.com/html/fon_leb.html.