การสร้างสรรค์อัตลักษณ์เครื่องแต่งกายจากพุทธปรัชญาแห่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อได้กระบวนการและงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์เครื่องแต่งกายจากพุทธปรัชญาแห่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารหรือวัดโพธิ์ จากพุทธปรัชญาที่แฝงในงานพุทธศิลป์รูปลักษณ์ “ย่อมุมไม้สิบสอง” ที่ปรากฏพบเป็นรูปแบบแผ่นผังการสร้างวัดและสถาปัตยกรรมสำคัญๆคือพระเจดีย์โดยล้อมรอบภายในวัด ตามคติธรรมก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 และพิจารณาแต่ละข้อวนจบ 3 ครั้ง รวมวนจบทั้งสิ้น 12 รอบ นำมาวิเคราะห์ถอดความเป็นองค์ประกอบทางการออกแบบและรายละเอียดการตกแต่ง เพื่อสื่อสารสัจธรรมความจริงของชีวิต และการจัดวางองค์ประกอบอย่างเป็นธรรมชาติอิสระแต่ให้ความรู้สึกสมดุล นำมาสู่ต้นแบบผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์เครื่องแต่งกายแรงบันดาลใจจากพุทธปรัชญาแห่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารหรือวัดโพธิ์ร่วมสมัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
พระเจษฏาพร อุ่นเรือน. (2557). การใช้อริยสัจสี่ในการจัดการชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขาลสุวรรณอนุสรณ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต).
พระอาจารย์มนตรี สุปุตติโก(บุตรดี). (2551). ปรัชญาแห่งวัดโพธิ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
อัจฉรา สโรบล. (2564). Clothing Design and Selections. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร, ภาควิชามนุษยสัมพันธ.
David Y.F. Ho. (1995). Selfhood and Identity in Confucianism, Taoism, Buddhism, and Hinduism with the West.
Journal for the theory of social behavior 1995(June): 115-139