การศึกษาเครื่องแต่งกายเชิงวัฒนธรรมประเพณีชุมชนแพรกหนามแดงเพื่อสร้างอัตลักษณ์เครื่องแต่งกายของตำบลแพรกหนามแดง จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

เตชิต เฉยพ่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาและได้ลงไปที่ชุมชนแพรกหนามแดงนั้นพบว่า ชุมชนแพรกหนามแดงนั้นไม่มีเครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีนั้นมีการรวมกลุ่มชุมชนของชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายทั้ง ชาวไทย, ไทยโซ่ง, ชาวมอญ, ชาวกะเหรี่ยง, ไทยพวน, ลาวเวียง ดังนั้น ในชุมชนแพรกหนามแดงเองย่อมมีวัฒนธรรมที่ซ้อนเล้นของชุมชนอยู่ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะศึกษาเพื่อนำมาสร้างอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของเครื่องแต่งกายชุมชน เพื่อส่งเสริมและสร้างความรักความเข้มแข็งของชุมชน สร้างอัตลักษณ์ของชุมชนให้เกิดการจดจำ จะนำไปสู่การสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม การท่องเที่ยว รวมถึงสามารถต่อยอดเป็นเครื่องแต่งกายเชิงวัฒนธรรมประจำถิ่น สร้างสรรค์ลวดลาย และสร้างเครื่องแต่งกายที่มีความร่วมสมัยได้ และจากผลของการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าชาวชุมชนแพรกหนามแดงน่าที่จะเป็นประชากรในกลุ่มคนไทยพื้นถิ่น ซึ่งมีการแต่งกายแบบคนไทยภาคกลางโดยทั่วไป จากข้อสันนิษฐานนี้จึงอาจจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบเครื่องแต่งกายเชิงวัฒนธรรมประเพณีชุมชนแพรกหนามแดงเพื่อสร้างอัตลักษณ์เครื่องแต่งกายของตำบลแพรกหนามแดง

Article Details

บท
การออกแบบ

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). คู่มือเสริมสร้างคุณภาพและมาตรฐานสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย.

กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

โครงการศึกษาพลวัตของสังคมวัฒนธรรมในชุมชนชาติพันธุ์เพื่อการสร้างแผนที่มีชีวิต. แผนที่วัฒนธรรมชาติพันธุ์สาครบุรี. สืบค้น 18 มีนาคม 2564, จาก https://db.sac.or.th/samutsakhon/ethno-map/info.php

นิธิ นิธิวีรกุล, วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์. (2562). นักวิจัยชาวบ้าน: ‘แพรกหนามแดง’ ฟากฝั่งของความขัดแย้ง. สืบค้น 25 มกราคม 2564,

จาก https://waymagazine.org/.

บ้านจอมยุทธ. (2543). การแต่งกายชาวเอเชียการแต่งกายจีน. สืบค้น 17 มกราคม 2564, จากhttps://www.baanjomyut.com/ library_2/history_of_costume/07_18.html.

ประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำ. (2559). สืบค้น 17 มกราคม 2564, จาก http://www.xn--l3capa3b6af8b3aes.com.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2543). ผ้าทอพื้นเมืองในภาคกลาง. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วิธีรามัญ. (2552). การแต่งกายของชาวรามัญฝ่ายชายและฝ่ายหญิง. สืบค้น 21 กุมภาพันธุ์ 2564, จาก http://jeachai.blogspot.com/ 2009/06/blog-post_07.html

ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้น 16 มกราคม 2564, จาก http://www.khaoyoi-thaisongdam.com/ index.asp?pageid=211&parent=&directory=1743&pagename=gallery