การจัดการการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกสู่สากล ตามแนวทางพระราชดำริ

Main Article Content

อาณัฏ ศิริพิชญ์ตระกูล
ยุวดี พรธาราพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะดำเนินตามแนวทางพระราชดำริในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยมุ่งการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ซึ่งมีการจัดการองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหลือทิ้งจากการเพาะปลูก และการประเมินองค์ความรู้ รูปแบบผลิตภัณฑ์ และรูปแบบกิจกรรมการให้ความรู้ โดยการจัดการองค์ความรู้ผู้วิจัยได้นำทักษะของชุมชนมาใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ชุมชนสามารถขึ้นต้นแบบได้ด้วยตนเอง เช่นทักษะการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การนำหญ้าแฝกแปรรูปเป็นกระดาษ และการนำกระดาษจากใบหญ้าแฝกไปทดสอบการพิมพ์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มาจากการวิจัยจากการให้องค์ความรู้ ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระเป๋า และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดประเภทต่าง ๆ การนำกระดาษใบหญ้าแฝกเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ ซึ่งทำให้ชุมชนได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเกิดความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในส่วนการประเมินผู้วิจัยแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ 2.ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก 3.ด้านการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลการประเมินทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งเป็นตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้

Article Details

บท
การออกแบบ

References

เครือข่ายข้อมูลหญ้าแฝกประเทศไทยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2562). หญ้าแฝกคืออะไร. สืบค้น 10 กรกฎาคม

จาก http://thvn.rdpb.go.th/index.php.

เครือข่ายกาญจนาภิเษก. (2564). หัตถกรรมพื้นบ้าน. สืบค้น 9 ก.ย.2564. จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/

book/book. php? Book =13&chap= 3&page=t13-3-infodetail01.html

อรัญ วานิชกร. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รจนา จันทราสา. (2558). การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ป.

สมชาย พรหมสุวรรณ. (2548). หลักการทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.