การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชุด “นาฏยสัตตบุษย์”

Main Article Content

พรรณพัชร์ เกษประยูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความสำคัญของดอกบัวในพระพุทธศาสนาและนำข้อมูลมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาองค์ประกอบการแสดงและแนวคิดจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการศึกษาข้อมูลจาก เอกสารทางวิชาการ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนาสื่อสารสนเทศ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย ซึ่งนำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ คือ 1) บทการแสดงแบ่งออกเป็น 3 องก์ คือ องก์ 1 การเกิดขึ้น องก์ 2 การเปลี่ยนแปลง และองก์ 3 การคงอยู่ 2) นักแสดง ใช้นักแสดงหญิงจำนวน
8 คน มีทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ไทยและสามารถสื่อสารอารมณ์ผ่านลีลานาฏยศิลป์ไทย 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลานาฏยศิลป์ไทยในการนำเสนอ 4) ดนตรีประกอบการแสดง ใช้เสียงของเครื่องดนตรีไทยมาประกอบลีลานาฏยศิลป์ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย ใช้รูปแบบนาฏยศิลป์ไทยให้มีความเรียบง่ายผ่านการใช้สีขาวและชมพู มีการลดทอนเครื่องประดับ 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้ดอกบัว ใบบัว และกลีบบัว ที่สื่อสารความหมายอย่างตรงไปตรงมา 7) พื้นที่การแสดง แบ่งพื้นที่การแสดงออกเป็น 9 ส่วน ตามตำแหน่งของผู้แสดง และ 8) การออกแบบแสง ใช้แสงแดดจากธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้วิจัยศึกษาแนวคิดที่ได้จากการสร้างสรรรค์นาฏยศิลป์ 3 ประการ คือ 1) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 2) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ และ 3) การคำนึงถึงทฤษฎีนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ ทั้งนี้การวิจัยในครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านนาฏยศิลป์มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ตลอดจนเป็นแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาผลงานนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง
Author Biography

พรรณพัชร์ เกษประยูร, Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Rajabhat university

ชื่อ-สกุล                     นางสาวพรรณพัชร์        เกษประยูร

ตำแหน่งทางวิชาการ     อาจารย์

สังกัดหน่วยงาน           สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

References

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2554). การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากสัญญะดอกบัวในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

ดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรม

ศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2545). วิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ครูเฉลย ศุขะวณิช. กรุงเทพฯ : สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร.

ฟื้น ดอกบัว. (2542) พระพุทธศาสนากับคนไทย. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รัจนา พวงประยงค์. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) ข้าราชการบำนาญ สังกัดกรม ศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. สัมภาษณ์. 23 พฤศจิกายน 2563.

ฤดีรัตน์ กายราศ. (2540). บัว: องค์ประกอบประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

อภิโชติ เกตุแก้ว. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอมในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.