ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมอญ เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย

Main Article Content

sansern sangkhadithi
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมอญ 2) สำรวจความคิดเห็นก่อนการออกแบบของกลุ่มเป้าหมาย และ 3) ศึกษาและออกแบบลวดลายจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมอญ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนมอญ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรมประเพณีมอญ โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประสบการณ์ในด้านวัฒนธรรมมอญ จำนวน 3 ท่าน และ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 99 คน โดยวิธีการเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และ แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการในรูปแบบผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมอญพระประแดง  ด้านของงานสถาปัตยกรรม คือ แบบถาวร และ แบบชั่วคราว ไม่สามารถนำลวดลายมาใช้ในงานออกแบบได้ เพราะมีข้อจำกัดในของความเหมาะสม ในส่วนของอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี ศิลปหัตถกรรม พิธีกรรม ความเชื่อ และวิถีความเป็นอยู่นั้น สามารถนำลวดลาย มาใช้ในการออกแบบลวดลาย และใช้งานกลุ่มสีได้ แต่ต้องดูความเหมาะสมและตำแหน่งในการใช้งาน จากการสำรวจความคิดเห็นก่อนการออกแบบของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยที่ต้องการจากการประยุกต์จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมอญคือ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและตกแต่งบ้าน สิ่งที่ต้องการให้มีในผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย คือ การอนุรักษ์สืบสาน การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการตลาด รวมไปถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ ด้านประโยชน์ใช้สอยและด้านความความงาม จากการศึกษาและออกแบบลวดลายจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมอญ พบว่า ลวดลายที่ผสมผสานรูปทรงเลขาคณิต ที่ใช้เทคโนโลยีการออกแบบจากคอมพิวเตอร์ มีความโดดเด่นด้วยรูปทรง โครงสร้าง ทำให้เกิดเป็นลวดลายใหม่

Article Details

บท
การออกแบบ

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563.

จาก https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=5665.

จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมรดกวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษอุทยาน

ประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

ชนากานต์ โสจะยะพันธ์. (2562). การอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต่างมีความหลากหลายของวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563.

จาก https://chonladec.blogspot.com/2019/02/blog-post_89.html.

ชวนี ทองโรจน์. (2554). การวิจัยวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 7(1),

หน้า 129-138.

ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2553). อัตลักษณ์ชุมชน : อัตลักษณ์ และการพัฒนาเพื่อเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ของชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1).

สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดาหวัน ธงศรี. (2557). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒธธรรมท้องถิ่น (อีสานใต้) ของห้องสมุดโรงเรียน. วารสารมนุษยศาสตร์

ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(2), หน้า 22-37. สืบค้นจาก http://www.human.ru.ac.th/grad/images/pdf/2557-3-2/col02.pdf

ทินวงษ์ รักอิสสระกุล และธัญญธร อินทร์ท่าฉาง. (2556). การศึกษาอัตลักษณทองถิ่นประจำภาคเหนือตอนลางเพื่อการ

ออกแบบเรขศิลปบนบรรจุภัณฑของที่ระลึก. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(1), หน้า 93-110.

สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563. จากhttps://so05.tcithaijo.org/index.php/sujthai/article/view/7787/8277

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัท สุรีวิยาสาส์น จำกัด.

ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2531). ของที่ระลึก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2551). ตัวตนคนมอญบนรากเหง้าบรรพบุรุษรามัญ. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563.

จาก https://mgronline.com/qol/detail/9510000024786.

พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล. (2553). การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง

นิเวศในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฐรัศมิ์ ว่องไชยกุล และคณะ. (2559). สร้างแบรนด์ในยุค Branding 4.0. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563.

จาก https://positioningmag.com/1106474.

วิลาศ โพธิสาร. (2552). การปรับตัวทางสังคมของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาไท

ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม

จาก https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic&language=th.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในเวทีความยั่งยืนโลก. สืบค้นเมื่อ

มีนาคม 2564. จาก https://www.nstda-tiis.or.th/publications_media/epi/

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฏีและกรอบแนวคิด = Identity. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัย

แห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Hall, Stuart. (1993). 'Cultural Identity and Diaspora', in Patrick Williams and Laura Chrisman (eds), Colonial

Discourse and Post-colonial Theory: A Reader. New York: Harvester Wheatsheaf, pp. 392-403