การสร้างสรรค์สื่อแรงจูงใจในการเรียนรู้เรื่องเล่าฤาษีดัดตน (วัดโพธิ์) ในรูปแบบคีออส ภาพประกอบเคลื่อนไหวด้วยระบบ เออาร์ ผ่านแอพพลิเคชั่น

Main Article Content

Panuwad Kalip

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นการวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์สื่อแรงจูงใจในการเรียนรู้เรื่องเล่าฤาษีดัดตน (วัดโพธิ์) ในรูปแบบคีออส ภาพประกอบเคลื่อนไหวด้วยระบบ เออาร์ ผ่านแอพพลิเคชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาและออกแบบสร้างสรรค์สื่อแรงจูงใจ ส่งเสริมการเรียนรู้ การรับรู้ และการสื่อสารงานศิลปะกับเทคโนโลยีในปัจจุบันให้มีความน่าสนใจ ต่อยอดศิลปะทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา รวมถึงการสนับสนุนการท่องเที่ยวในการเสริมสร้างรายได้ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากการลงพื้นและภาคเอกสาร เพื่อการหาแนวทางการออกแบบ ซึ่งได้สรุปลักษณะของผลงานการออกแบบ คือ ลักษณะของภาพศิลปะร่วมสมัย และใช้สีในชุดสีไทยโทน โดยการเอาลักษณะต่างๆของพื้นที่ เอกลักษณ์ของ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ลักษณะประติมากรรมฤาษีดัดตน และจิตรกรรมฝาผนังนำมาถอดแบบเพื่อให้มีความเชื่อมโยงกับผลงาน และนำผลงานประเมินความพึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยการวิจัยนี้ได้ผลการออกแบบต้นแบบสื่อภาพประกอบ จำนวน 2 ต้นแบบ ประกอบไปด้วย 1 ภาพที่สื่อลักษณะความหมายของฤาษีดัดตน และ 2 ภาพที่แสดงถึงการดัดตนโดยการยกตัวอย่าง ท่าที่ 75 ดัดตนแก้ปัตฆาฏ แก้ตะคริว ซึ่งผลงานภาพประกอบทั้ง 2 ภาพ สามารถเคลื่อนไหวด้วยระบบ เออาร์ ผ่านแอพพลิเคชั่น ได้ ด้วยแอพพลิเคชั่น Artivive และผลงานการออกแบบต้นแบบคีออสในพื้นที่ 1.2 x 3 m จำนวน 1 ต้นแบบ เพื่อใช้เป็นพื้นที่การนำเสนอและสื่อสารข้อมูลเรื่องเล่าฤาษีดัดตน (วัดโพธิ์) ในรูปแบบสื่อภาพประกอบเคลื่อนไหว


            กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ นักเรียน/นักศึกษา นักออกแบบ และนักท่องเที่ยว โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและประเมินความพึงพอใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้ 1) แบบประเมินผลงานออกแบบสื่อภาพประกอบเคลื่อนไหว และ 2) แบบประเมินผลงานออกแบบสื่อคีออส แล้วนำผลการประเมินมาสรุป วิเคราะห์ หาผลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอภิปรายผล


            จากการสรุปผลการวิจัยพบว่า ต้นแบบผลงานการออกแบบสื่อแรงจูงใจในการเรียนรู้เรื่องเล่าฤาษีดัดตน (วัดโพธิ์) ในรูปแบบคีออส ภาพประกอบเคลื่อนไหวด้วยระบบเออาร์ผ่านแอพพลิเคชั่น อยู่ในระดับความพึงพอใจในระดับมาก ที่สามารถนำเสนอสื่อสารเนื้อหาข้อมูลได้ดี แสดงถึงภาพลักษณ์ เอกลักษณ์ ของเนื้อหาได้

Article Details

บท
การออกแบบ

References

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต

(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

ชม ภูมิภาค. (ม.ป.ป). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พราหมณ์ บูรพา. (2549). ฤาษีดัดตน นวดแผนไทย ตำรับวัดโพธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์

พีเอชพี. (2560). ทำความรู้จักคีออส. สืบค้น 30 มีนาคม 2564, จาก http://www.mindphp.com.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2537). มนุษย์กับความงาม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2539). ศิลปศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2548). การจัดแสดงและนิทรรศการ. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.