การประพันธ์บทการแสดงเพื่อสื่อสมัยใหม่ชุดน้ำพริกลงเรือสวนสุนันทา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์การประพันธ์บทการแสดงเพื่อสื่อสมัยใหม่ชุดน้ำพริกลงเรือสวนสุนันทา สำหรับการจัดทำวิดีทัศน์เพื่อใช้เผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีเครื่องมือวิจัยได้แก่การศึกษาข้อมูลทางเอกสาร สำรวจข้อมูลภาคสนามกระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดง การสัมภาษณ์และการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายผลกระบวนการสร้างสรรค์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าการประพันธ์บทการแสดงสำหรับสื่อวิดีทัศน์ชุดน้ำพริกลงเรือสวนสุนันทาสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ 1.โครงเรื่องและบทแสดงหลัก 2. กวีนิพนธ์น้ำพริกลงเรือ และ 3. คำร้องแร็พ บททั้งสามส่วนนี้นำมาประกอบสร้างเป็นบทเพื่อการจัดทำวิดีทัศน์ที่พัฒนาแนวทางการนำเสนอวัฒนธรรมอาหารของสวนสุนันทาในรูปแบบใหม่ บทการแสดงและสื่อสมัยใหม่สามารถบูรณาการศาสตร์ศิลปะการแสดงกับศิลปะหลากหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกันทั้งวรรณศิลป์ ตัวละคร การขับร้อง ดนตรี ภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหวกราฟฟิก สื่อวิดีทัศน์ชุดนี้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการนำเสนอทุนวัฒนธรรมของสวนสุนันทาให้มีความร่วมสมัยอีกทั้งสร้างการรับรู้และการยอมรับให้แพร่หลายมากขึ้นในสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 . กรุงเทพฯ: บริษัทสยาม สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กฤตวิทย์ ภูมิถาวร. อาจารย์สาขาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (25 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ ๕. (2540). พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ ๕ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส, วันที่ 24 ธันวาคม 2540. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชนะภพ วัณณโอฬาร. ภัณฑารักษ์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (5 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.
เนื่อง นิลรัตน์, ม.ล. (2540). ชีวิตในวัง. กรุงะทพฯ: โรงพิมพ์ศรีสารา.
_______ (2545). ชีวิตในบ้านกับตำราอาหารสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: อัลฟ่า พับลิชชิ่ง.
แน่งน้อย ติตติรานนท์. (2523). สวนสุนันทาในอดีต. กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์การพิมพ์.
วีณา เอี่ยมประไพ. (2536). “พระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา” ที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติ ๑๓๐ พรรษา พระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
วีณา เอี่ยมประไพ, ศันสนีย์ จะสุวรรณ์ และ พันธ์ศักดิ์ วรรณี. (2560). อาหารสวนสุนันทา, หนังสือที่ระลึกครบรอบ ๘๐ ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทบาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและกิจกรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (1 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
วรรณศักดิ์ ศิริหล้า. ผู้กำกับการแสดงสื่อวิดีทัศน์น้ำพริกลงเรือสวนสุนันทา. (1 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
ศรุตานุสรณ์. (2526). พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ ๕ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๖. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง
สดับ ลดาวัลย์, เจ้าจอม ม.ร.ว. (2523). “พระจรรยาของพระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาฎ,” หนังสือที่ระลึกฉบับรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. พระนคร: โรงพิมพ์อรุณาการพิมพ์.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (4 กรกฎาคม 2022). เพลง“น้ำพริกลงเรือสวนสุนันทา”. Arts and Culture SSRU [วิดีโอ]. ยูทูบ. https://www.youtube.com/watch?v=RNHSJNNdiJc
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (8 กรกฎาคม 2022). ผลงานการสนร้างสื่อสร้างสรรค์ “น้ำพริกลงเรือ สวนสุนันทา”ลำดับที่ 2. Arts and Culture SSRU [วิดีโอ]. ยูทูบ.https://www.youtube.com/watch?v=lZUM16NaYk8
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (14 กรกฎาคม 2022) ผลงานสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัย “น้ำพริกลงเรือสวนสุนันทา” ฉบับสมบูรณ์. Arts and Culture SSRU [วิดีโอ]. ยูทูบ.https://www.youtube.com/watch?v=PPC0s HwyONY
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. (2536). เรื่องเล่าชาววัง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง