การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร

Main Article Content

บุญเสริม วัฒนกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และประเมินคุณภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในด้านการใช้งาน (Function) และด้านคุณค่าทางความงาม (Aesthetic) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้จากการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักศึกษาแพทย์ด้านสูตินรีเวช จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย


             ผลการศึกษาวิจัย พบว่า หุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดคลอดทาง หน้าท้องเมื่อตรวจสอบคุณภาพโดยการทดลอง (Try out) หุ่นจำลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้หรือได้รับประสบการณ์ในเรื่องการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแล้ว พบว่า มีคุณภาพด้านการใช้งาน (Function) อยู่ในเกณฑ์มาก และด้านคุณค่าทางความงาม (Aesthetic) อยู่ในเกณฑ์มาก คุณภาพในภาพรวมของหุ่นจำลองอยู่ในเกณฑ์มาก และเมื่อใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักศึกษาแพทย์มีผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมาก แสดงให้เห็นว่าหุ่นจำลองที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
การออกแบบ

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). ความรู้เรื่องการผ่าท้องคลอดสำหรับประชาชนทั่วไป. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

จตุพล ศรีสมบูรณ์. (2541). ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บังอร ดวงรัตน์, อรุณี ยันตรปกรณ์, ธัญรวดี จิรสิทธิปก, วินัย สยอวรรณ, นลินภัสร์ รตนวิบูลสุข และนวลปราง สาลีเพ็ง. (2559). การพัฒนาหุ่นจำลองแขนฝึกทักษะการเย็บแผลชนิดยางพารา. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 7(1), 47-57.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เกษมศรีอนันต์.

บุศย์รินทร์ อารยะธนิตกุล, วิชัย เสวกงาม และ อลิศรา ชูชาติ. (2559). การพัฒนาหุ่นจำลองต้นแบบสำหรับฝึกตรวจช่องท้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยและแนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมในการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 18(3), 51-61.

วินัย สยอวรรณ, ศราวุฒิ แพะขุนทด, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์ และ จริยา อัมพาวงษ์. (2561). การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการกดนวดชนิดยางพาราสำหรับนักศึกษาการแพทย์แผนไทยบัณฑิตของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก. วารสารพยาบาลและการศึกษา. 10(3), 71-81.

ศรารัตน์ มหาศรานนท์, สุมาลี ยับสันเทียะ, นันทวัฒน์ อู่ดี, สมบัติ บุญขวาง, ภัสสุรีย์ ชีพสุมนต์และธัญรัตน์ ชูศิลป์. (2556). การพัฒนา หุ่นจำลองรังสีรักษาสำหรับฝึกทักษะการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สืบค้นจาก http://elibrary.trf.or.th/project _content.asp?PJID=RDG5650117.

นันทวัฒน์ อู่ดี. (2559). หุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคการรักษาสามมิติ. สืบค้นจาก ttp://elibrary.trf.or.th/project_content.asp? PJID=RDG5950015.

สุสันหา ยิ้มแย้ม (2558) การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 43(2), 142-151.

Depp, R. (1996). Cesarean delivery. USA: Churchill Livingstone.

Firth, N. (1989). Special exercise for pregnancy, labour and puerperium. USA: Churchill Livingstone.