การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อประสมจากลวดลายผ้าทอ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ขวัญจิรา เจียนสกุล

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อประสมจากลวดลายผ้าทอ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ประเภท รูปแบบ ตลอดจนกระบวนการผลิตผ้าทอ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2.เพื่อศึกษาการสร้างรูปแบบ เทคนิค วิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อประสมจากลวดลายผ้าทอ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3.เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อประสมโดยใช้แรงบันดาลใจจากลวดลายผ้าทอ จังหวัดเพชรบูรณ์ สู่การศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์นำเสนอผ่านผลงานศิลปะสื่อประสมของผู้วิจัย โดยการนำผ้าทอมาสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ทางศิลปะด้วยเทคนิคการปักผ้าผสมผสานกับสื่อวัสดุต่างๆ โดยได้ศึกษาข้อมูลประวัติผ้าทอของจังหวัดเพชรบูรณ์ และการรวบรวมภาพถ่ายจากสถานที่จริงในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ออกมาเป็นภาพร่างก่อนนำไปสร้างสรรค์เป็นผลงานจริง ซึ่งผู้วิจัยได้นำเอาผ้าขาวม้าทอมือ และซิ่นหัวแดงตีนก่าน ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะสื่อประสม 2 มิติ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร จำนวนทั้งหมด 4 ชิ้น โดยได้นำเสนอความสวยงามของลวดลายผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ผ่านรูปทรงที่ลดตัดทอนของธรรมชาติเพื่อถ่ายทอดถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ และสรุปผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์ผลงานตามหลักการทางทฤษฎีสี และองค์ประกอบศิลป์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อประสมเผยแพร่ต่อนักศึกษา และผู้ที่สนใจทางด้านศิลปกรรมต่อไป

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์. (2550). เสน่ห์เส้นด้ายภูษาผ้าทอ จังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นจาก https://online.fliphtml5.com/mfrth/eefn/?fbclid=IwAR3MtqtwL5SRChErjmndJ94BFYIjWaRQcA5aX58wFCoi3TV3FEO0rxv57rA#p=40

ดูเอเชีย ข้อมูลการท่องเที่ยว. (2550). ผ้าทอพื้นเมือง. สืบค้นจาก http://www.dooasia.com/thailandinfo/oldcity/phetchabun7.shtml

ธนิสร หลักชัย. (2562). “หัวแดงตีนก่าน” สวมใส่สไตล์ไทหล่ม. สืบค้นจาก https://www.artoftraveler.com/2019/01/22/ซิ่นหัวแดงตีนก่าน/