โครงการออกแบบอุปกรณ์เสริมบนโต๊ะทำงานจากพลาสติกชีวภาพทางการเกษตรภายใต้รูปแบบ การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการออกแบบอุปกรณ์เสริมบนโต๊ะทำงานจากพลาสติกชีวภาพทางการเกษตรภายใต้รูปแบบการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ให้เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ 2) เพื่อออกแบบอุปกรณ์เสริมบนโต๊ะทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการสำหรับวิถีชีวิตใหม่ กระบวนการวิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกชีวภาพและศิลปะการออกแบบ จัดทำแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เสริมบนโต๊ะทำงาน กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามคือพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน และนำผลสรุปมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบ ทำการออกแบบและจัดสร้างอุปกรณ์เสริมบนโต๊ะทำงานด้วยพลาสติกชีวภาพ 3 ชิ้น มี รูปแบบแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานคือ 1) อุปกรณ์สำนักงาน สำหรับจัดเก็บเครื่องใช้สำนักงาน 2) อุปกรณ์สำนักงานกับเทคโนโลยี สำหรับเก็บอุปกรณ์สำนักงานและวางโทรศัพท์มือถือ กับที่ชาร์จแบตเตอรี่ 3) อุปกรณ์สำนักงานกับLighting ประกอบด้วยโคมไฟที่เก็บอุปกรณ์สำนักงานและเก็บของใช้ส่วนตัว และนำไปให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ประเมินความพึงพอใจ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่ารูปแบบที่ 1 มีความพึงพอใจระดับมาก ( = 4.12 และ S.D = 0.73) รูปแบบที่ 2 มีความพึงพอใจระดับมาก ( = 4.34 และ S.D = 0.68) รูปแบบที่ 3 มีความพึงพอใจระดับมาก ( = 4.34 และ S.D = 0.67)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กรมสุขภาพจิต. (2564). New Normal ชีวิตวิถีใหม่ สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288
คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ราชบัณฑิตยสภา สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก https://shorturl.at/ghDH0
ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง. (2564). การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้น10 ตุลามคม 2564, จาก shorturl.asia/0PiyL
ธารา บัวคำศรี. (2554). การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม Design for the Environment. สืบค้น 11 ตุลาคม 2564, จาก https://taragraphies.org/2011/02/26/dfe/
ประชิต ทินบุตร. (2547). การออกแบบกราฟิค. กรุงเทพ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.
มูลนิธีสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. (2564). มันสำปะหลัง. สืบค้น 13 ตุลามคม 2564, จาก https://tapiocathai.org/C.html.
วัชรินทร์ ซุ้นสุวรรณ. (2564). อ้อย. สืบค้น 13 ตุลาคม 2564, จาก https://natres.psu.ac.th/Department/Plantscience/510-211/pages/sugarcane.htm
ศริศักดิ์ สุนทรไชย, สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์, และภัทรมาส โตสิงห์. (2559) พลาสติกชีวภาพจากพืชทางการเกษตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 3(1). 25-28
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โอกาศและความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย. สืบค้น 20 ตุลามคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/17523.aspx
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 –2580 (ฉบับย่อ). สืบค้น 11 ตุลาคม 2564, จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/Ebook/NationalStrategy/book.html#p=1
สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2564). New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง สืบค้น 11 ตุลามคม 2564, จาก https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49
PTT Bio solution. (2564). การขึ้นรูปพลาสติกชีวภาพ สืบค้น 20 ตุลาคม 2564, จาก https://biosolution.pttplc.com /products/application.aspx
PTT GC. (2564). พลาสติกชีวภาพคืออะไร สืบค้น 20 ตุลาคม 2564, จาก https://productsandsolutions.pttgcgroup.com/th/labels/bioplastics
Thai Thaifood. (2564). ข้าวโพด. สืบค้น 13 ตุลามคม 2564 ,จาก https://www.thaithaifood.com/th