การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยในยุคชีวิตวิถีใหม่

Main Article Content

สุภาวดี โพธิเวชกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยในอดีตเพื่อต่อยอดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยการศึกษาเอกสารและการสังเกตการณ์การแสดงทั้งจากภาครัฐโดยกรมศิลปากร ภาคเอกชนและภาคความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน พบว่างานนาฏศิลป์ไทยเริ่มแรกตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 10 สามารถแบ่งช่วงการสร้างสรรค์ที่จัดเป็นนวัตกรรมใหม่เกิดรูปแบบการนำเสนอการแสดงที่ได้รับความนิยมนำไปต่อยอดเป็นการแสดงใหม่ได้ 4 ช่วงตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง 9 ได้แก่ ช่วงนาฏศิลป์ไทยเพื่อการบันเทิงและบวงสรวงเทพเจ้า ช่วงการเข้าสู่ภาคธุรกิจ ช่วงการเข้าสู่ระบบการศึกษาและช่วงการเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ ในช่วงนี้แนวทางการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ควรประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 4 ประการ คือ การเลือกรูปแบบหรือฟอร์ม(Form) การกำหนดเนื้อหาของการแสดง (Content) กระบวนการสร้าง (Function) และผลงานที่มีความหมาย(Meaning) เพื่อให้งานนาฏศิลป์ไทยในยุคนี้บรรลุเป้าหมายเกิดเป็นนวัตกรรมสามารถนำไปต่อยอดทางเศรษฐกิจในชีวิตวิถีใหม่ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จฯ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2516). ศิลปละครรำ หรือ คู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เฉลิมพลฑิฆัมพรโปรดให้พิมพ์ในงานฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 29 เมษายน 2516.

ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2549). วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ภาณุรัชต์ บุญส่ง. (2560). การดำรงอยู่ของนาฏศิลป์ไทยในยุคประเทศไทย4.0.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(1), 107-116.

สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2549). รูปแบบการรำเบิกโรงละครรำยุคกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

. (2559). วิธีการรำออกภาษาตามแนวละครเจ้าพะยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล). กรุงเพฯ:

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์, รองศาสตราจารย์ ดร. (2543). วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2525-2477. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุมานราชธน,พระยา. (2515). วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.