จาก BANGKOK NOTES สู่ TOKYO NOTES: การดัดแปลงบทละครของ ORIZA HIRATA สู่บริบทไทยร่วมสมัย

Main Article Content

Sawita Diteeyont

บทคัดย่อ

บทละครเรื่อง Tokyo Notes เป็นผลงานของศาสตราจารย์โอริสะ ฮิราตะ (Oriza Hirata) ผู้ก่อตั้งคณะละคร เซอิเนนดัง (Seinendan)  และได้รับรางวัลคิชิดะ คุนิโอะ (Kishida Kunio Award) ซึ่งถือเป็นรางวัลด้านการละครที่สำคัญที่สุดในประเทศญี่ปุ่น บทละครเรื่องนี้เขียนขึ้นในปี พ.ศ.2537 ได้รับการแปลถึง 15 ภาษา และจัดแสดงมาแล้ว 23 เมืองใน 16 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 บทละครเรื่อง Tokyo Notes ได้ถูกนำมาจัดแสดงที่ประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า Bangkok Notes ผู้วิจัยในฐานะผู้ดัดแปลงบทละครได้ศึกษากระบวนการแปลและดัดแปลงบทละครเรื่องดังกล่าวเพื่อนำเสนอบทในบริบทสังคมไทยโดยยังคงรักษาแก่นเรื่องและเอกลักษณ์ของบทละครเดิมไว้ ผ่านกระบวนการการวิเคราะห์โครงสร้างของบทละครเรื่อง Tokyo Notes  การดัดแปลงบทให้เป็นบริบทสังคมไทย และการพัฒนาบทไปพร้อมกับการซ้อมละครร่วมกับผู้กำกับชาวญี่ปุ่นและนักแสดงชาวไทย  โดยผู้วิจัยมุ่งศึกษาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ เอกลักษณ์ของบทละครเดิม กลวิธีการแปลและการดัดแปลงบทละคร และความเป็นไทยที่ปรากฎในบทละครดัดแปลง เรื่อง Bangkok Notes


ผู้วิจัยพบว่าในการดัดแปลงบทละครที่มีลักษณะทางโครงสร้างที่ต่างจากบทละครทั่วไปต้องคำนึงถึงเอกลักษณ์ของบทละครเดิมเป็นหลัก การทำงานร่วมกับผู้กำกับและนักแสดงในขั้นตอนการซ้อมมีผลอย่างมากในกระบวนการดัดแปลงบท และกลวิธีการดัดแปลงบทอาจแตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะสมกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของบท ทั้งนี้เพื่อสื่อสารเรื่องราวเดิมในบริบทวัฒนธรรมใหม่เพื่อให้ผู้ชมได้รับรู้สารที่บทละครต้องการจะสื่อได้ชัดเจนและลึกซึ้งขึ้น

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

เจแปนฟาวน์เดชั่น, ภาควิชาศิลปการละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). Bangkok Notes. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hutcheon, L. (2006). A Theory of Adaptation. New York: Routledge.

M. Cody Poulton and Hirata Oriza (2002). Tokyo Notes: A Play by Hirata Oriza. Asian Theatre Journal.

(1), 1-120.

Vandal-Sirois, H.,& Bastin, G. (2012). Adaptation and Appropriation: Is there a Limit? in Laurence Raw (ed.),

Translation, Adaptation and Transformation. London: Bloomsbury Publishing Plc.