สัญญะในตัวละครนางละเวง

Main Article Content

น้ำหวาน ดาราวรรณ์
ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์

บทคัดย่อ

ละครพันทางเป็นละครที่นำเรื่องราวและศิลปะการแสดงจากชนชาติอื่นเข้ามาผสมผสานกับแบบแผนการแสดงของไทย การศึกษาสัญญะในตัวละครต่างเชื้อชาติในละครพันทางจะเผยให้เห็นภาพความเป็นต่างชาติในมุมมองของผู้สร้างสรรค์และการถ่ายทอดความหมายเหล่านั้นสู่ผู้ชม งานวิจัยเรื่องสัญญะในตัวละครนางละเวงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัญญะในตัวละครนางละเวงที่ปรากฏในการแสดงละครพันทาง โดยเลือกศึกษาจากการแสดง 3 ตอนที่มีนางละเวงเป็นตัวละครสำคัญ ได้แก่ พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง (2548), พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง (2558) และ เล่ห์ละเวง (2562) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนในการสร้างสรรค์การแสดงแต่ละชุดและผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่าสัญญะที่ปรากฏในตัวละครนางละเวงแบ่งออกเป็น 1. สัญญะที่สื่อถึงเชื้อชาติ ปรากฏอยู่ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ท่ารำ ดนตรีและฉาก 2. สัญญะที่สื่อถึงความเป็นกษัตริย์ ปรากฏในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและฉาก และ 3. สัญญะที่สื่อถึงความเป็นนักรบ ปรากฏในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดนตรีและฉาก ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ประเภทของสัญญะที่ใช้พบว่า สัญญะที่สื่อถึงเชื้อชาติเป็นสัญญะประเภทไอคอน (Icon) ที่สร้างขึ้นอาศัยความเหมือนต้นฉบับคือเครื่องแต่งกายของกษัตริย์และราชินีอังกฤษเป็นหลัก ฉากการแสดงเป็นองค์ประกอบที่พบความแตกต่างของสัญญะมากที่สุด กล่าวคือ มีทั้งฉากที่ไม่มีสัญญะเลย ฉากที่เป็นป่าซึ่งเป็นสัญญะประเภทไอคอนและฉากที่เป็นประเภทไอคอนผสมสัญลักษณ์ (Symbol)

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ณัฏฐพล เขียวเสน และคณะ. (ม.ป.ป). การสืบทอดและการดัดแปลงเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นบทละครรำของกรมศิลปากร. วารสารดำรงวิชาการ, 18(1), 173-200.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2495). บทละคร ตอนพระอภัยพบนางละเวง. กรุงเทพฯ: กองการสังคีตกรมศิลปากร.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสร์. กรุงเทพฯ: เอช เอ็น กรุ๊ป.

นพรุจ ต้นทัพไทย.(2554). การวิเคราะห์สัญญะในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีเด็กเป็นตัวละครหลัก. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นุชนาฏ ดีเจริญ. (2553). รําวงในเขตภาคเหนือตอนล่าง: กรณีศึกษาจังหวัดกําแพงเพชร นครสวรรค์และพิจิตร. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลยันเรศวร, 7(3), 115-130.

ปัญญา นิตยสุวรรณ. (2529). เทิดเกียรติคุณ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

พงษธร เครือฟ้า. (2561). การออกแบบเรขศิลป์สำหรับงานอีเวนต์ โดยประยุกต์ใช้ทุนวัฒนธรรม กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี. นครปฐ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มณีรัตน์ มุ่งดี.(2554). บทบาทและลีลาของนางละเวงในการแสดงละคร เรื่อง พระอภัยมณี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย