การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การออกแบบอัตลักษณ์ พื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและแนวทางการปรับรูปแบบตามขนาดพื้นที่” โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่จะใช้ในพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (2) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดสรรพื้นที่แสดงสินค้าชุมชน ที่มีลักษณะพิเศษสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ ในการวิจัยมุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์รูปแบบใหม่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์ที่มีความร่วมสมัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลการวิเคราะห์อัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาผ่านผู้เชี่ยวชาญและปราชญ์ชุมชน สามารถแบ่งลักษณะ อัตลักษณ์ใหม่ สำหรับใช้เป็นแนวทางการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าจากอัตลักษณ์ใหม่อยุธยา ซึ่งประกอบด้วย สีอัตลักษณ์ ได้แก่ สีปูนอยุธยา สีแดงอยุธยา สีทองอยุธยา รูปทรงอัตลักษณ์ ได้แก่ รูปทรงเจดีย์ 3 องค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ลวดลายอัตลักษณ์ ได้แก่ มุมมองผังด้านบนเจดีย์ ลายสานปลาตะเพียน และวัสดุอัตลักษณ์ ได้แก่ อิฐดินเผา ไม้สัก ไม้ไผ่ ใบลาน
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์อัตลักษณ์อยุธยา สามารถประยุกต์ใช้การออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ได้อย่างชัดเจนและยังสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชน รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าสามารถเชื่อมโยงอัตลักษณ์และการออกแบบ ที่สามารถกำหนดขนาดพื้นที่ที่สามารถขยายเพิ่มเติมในลักษณะพิเศษแบบ ยกขยายพื้นที่ขึ้นเป็น 2 ชั้น สร้างความโดดเด่น สวยงาม และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.
กฤศนุ สมบุคย์รุ่งเรือง. (2553). การศึกษาอัตลักษณ์สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมของย่านชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี. ศิลปนิพนธ์(ปริญญาโท) สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. (น.51-52). กรุงเทพฯ: ฮั่วซินการพิมพ์,
นัดดาวดี บุญญะเดโช. (2562). การออกแบบภาพลักษณ์อุทัยธานีโมเดล เมืองแห่งสุนทรียวัฒนธรรม. ดุษฎีนิพนธ์(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). ทฤษฎีการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อินทนิล.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2541). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม : มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. (น. 49-62).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ และพิชัย สดพิบาล. (2552). วัสดุพื้นถิ่นภาคกลางที่ใช้ในการผลิตครุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สันต์ สุวัจฉราภินันท์. (2551). หาเรื่องมอง: ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสายตาและสถาปัตยกรรม. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(1), 142-154.
สมภพ จงจิตต์โพธา. (2554). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
Hall, S. (1977). Representation: Cultural representation and signifying practices. London: SAGE Publications.
Kim, Y. & Kim, P. (2011). Seoul City Branding: The Case of Seoul’s International Brand Communication. In K. Dinnie (ED.), City branding theory and cases (190-198). London: Palgrave. Macmillan.
Kobayashi, Shigenobu. (1998). Colorist. Japan: Kodansha International Ltd.